Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11542
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorน้ำทิพย์ วิภาวินth_TH
dc.contributor.authorทรรศนพร ระหงษ์, 2532-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-02-20T05:46:48Z-
dc.date.available2024-02-20T05:46:48Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11542en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพศูนย์กลางการจัดเก็บเอกสารกลางของ กองบรรณสารและห้องสมุด กระทรวงการต่างประเทศ และ (2) พัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีในการเป็นศูนย์กลางการจัดเก็บเอกสารกลางของกองบรรณสารและห้องสมุด กระทรวงการต่างประเทศ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรฝ่ายบรรณสาร กองบรรณสารและห้องสมุด กระทรวงการต่างประเทศ จำนวน 28 คน โดยวิธีการเลือกประชากรแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการกองบรรณสารและห้องสมุด บรรณารักษ์ เจ้าพนักงานห้องสมุด พนักงานจัดระบบเอกสาร และแหล่งข้อมูลหลัก ได้แก่ มาตรฐานการจัดเก็บเอกสารจากหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 5 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพศูนย์กลางการจัดเก็บเอกสารกลางของกองบรรณสารและห้องสมุด มีการบริหารงานและขั้นตอนการดำเนินงานตามแนวทางการจัดการเอกสารของหน่วยงานภาครัฐที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ. 2556 และมาตรฐานสากล ISO 15489 การจัดการเอกสาร ได้แก่ การจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบการจัดเก็บเอกสาร การมอบหมายหน้าที่และจัดสรรบุคลากรในการปฏิบัติงาน การดำเนินงานโดยการสำรวจเอกสาร การวิเคราะห์ภารกิจขององค์กรเพื่อจัดทำแผนการจัดหมวดหมู่เอกสาร เกณฑ์การประเมินคุณค่าเอกสาร การพัฒนาระบบงานสารบรรณ การสงวนรักษาเอกสารด้วยวัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยีที่เหมาะสม และการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งพบว่าการจัดสรรบุคลากรที่มีความรู้และเพียงพอเป็นส่วนสำคัญในการจัดเก็บเอกสาร (2) แนวปฏิบัติที่ดีในการเป็นศูนย์กลางการจัดเก็บเอกสารกลางของกองบรรณสารและห้องสมุด เป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นไปตามมาตรฐาน ได้แก่ 1) การจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบการจัดเก็บเอกสารและจัดสรรบุคลากรที่มีความรู้อย่างเพียงพอในการจัดเก็บเอกสาร 2) การจัดทำแผนการจัดหมวดหมู่เอกสารและกำหนดเกณฑ์การประเมินคุณค่าเอกสารโดยจัดทำเครื่องมือปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับหน่วยงานเพื่อจัดเก็บเอกสารให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 3) การออกแบบพัฒนาระบบงานสารบรรณสำหรับเอกสารกระดาษและอิเล็กทรอนิกส์ การใช้เทคโนโลยี การจัดสรรพื้นที่และวัสดุให้เพียงพอ 4) การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในการสงวนรักษาเอกสารตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน และ 5) การประเมินผล การตรวจสอบและการปรับปรุงระบบอย่างสม่ำเสมอth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectกระทรวงการต่างประเทศ. กองบรรณสารและห้องสมุด--การบริหารth_TH
dc.subjectการจัดการข้อมูลแบบครบวงจรในห้องสมุดth_TH
dc.titleการพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีในการเป็นศูนย์กลางการจัดเก็บเอกสารกลางของกองบรรณสารและห้องสมุด กระทรวงการต่างประเทศth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of Best Practices in Ministry record repository for Archives and Library Division, Ministry of Foreign Affairsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สารสนเทศศาสตร์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research was to study: 1) the current status of central filing systems for the Archives and Library Division, Ministry of Foreign Affairs; and 2) the development of Best Practices in Ministry record repository for the Archives and Library Division, Ministry of Foreign Affairs. This research was a qualitative study and the population consisted of 28 library administrators and staff of the Archives and Library Division, Ministry of Foreign Affairs. The main source of information consisted of 5 government organization standards. The research instruments were a data record form and an in-depth interview. Data analysis used inductive content analysis. The research results were as follows: 1) the current status of central filing systems for the Archives and Library Division conforms with the record management in the National Archives Act B.E. 2556 (2013) and ISO 15489 by establishing the filing system unit with responsible staff to perform the record management process in the classification scheme, appraisal and preservation with appropriate technology, to evaluate the performance by post-implementation review. Furthermore, job recruitment of skillful record officers is an important factor. (2) There are Best Practices in the Ministry record repository for the Archives and Library Division. The Best Practices in Ministry were the performances that conformed with standards in 1) establishing the filing system unit with qualified staff, 2) conducting the records classification scheme and appraisal with appropriate tools, 3) system designing in the electronic documents system with enough collection space, 4) continuing the process for preservation management, and 5) evaluating the process for regular system improvement.en_US
dc.contributor.coadvisorจิรบดี เตชะเสนth_TH
dc.contributor.coadvisorฐิติมา ธรรมบำรุงth_TH
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.52 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons