กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11543
ชื่อเรื่อง: การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของกระทรวงสาธารณสุขในการสื่อสารภาวะวิกฤตโรคโควิด 19
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Ministry of Public Health’s use of online social media to communicate about the COVID-19 crisis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยฉัตร ล้อมชวการ
กัญญ์วรา ศิริสมบูรณ์เวช, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
กมลรัฐ อินทรทัศน์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบูรณาการการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์
การสื่อสารในการจัดการภาวะวิกฤต
สื่อสังคมออนไลน์ในการแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับข่าวสาร การใช้ประโยชน์จากข่าวสาร และความพึงพอใจข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด 19 ของผู้ติดตามเฟซบุ๊กเพจของกระทรวงสาธารณสุข 2) เปรียบเทียบการเปิดรับข่าวสาร การใช้ประโยชน์จากข่าวสาร และความพึงพอใจข่าวสารตามลักษณะทางประชากรของผู้ติดตามเฟซบุ๊กเพจ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การใช้ประโยชน์จากข่าวสาร และความพึงพอใจข่าวสาร การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ติดตามเฟซบุ๊กเพจของกระทรวงสาธารณสุขที่เปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด 19 จำนวน 400 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบสหสัมพันธ์พหุคูณ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย 1) การเปิดรับข่าวสาร การใช้ประโยชน์จากข่าวสาร และความพึงพอใจข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด 19 ของผู้ติดตามเฟซบุ๊กเพจของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับข่าวสารผ่านสมาร์ทโฟน มีระยะเวลาในการติดตามข่าวสาร 2 ปีขึ้นไป ความถี่ในการเปิดรับข่าวสารไม่ได้เปิดทุกสัปดาห์ ช่วงเวลา 09.01 – 12.00 น. มีระยะเวลาเฉลี่ยต่อครั้งในการเปิดรับข่าวสารน้อยกว่า 15 นาที เปิดรับข่าวสารเป็นประจำในประเด็นสถานการณ์การแพร่ระบาดในพื้นที่ต่างๆ โดยมีการใช้ประโยชน์จากข่าวสาร สถานการณ์การแพร่ระบาด มีความพึงพอใจในข้อมูลข่าวสารที่มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือมากที่สุด 2) เปรียบเทียบการเปิดรับข่าวสาร การใช้ประโยชน์จากข่าวสาร และความพึงพอใจข่าวสารตามลักษณะทางประชากรของผู้ติดตามเฟซบุ๊กเพจ พบว่า ลักษณะทางประชากร ได้แก่ อายุ อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการเปิดรับข่าวสารแตกต่างกัน อาชีพที่แตกต่างกันมีผลต่อการใช้ประโยชน์จากข่าวสารแตกต่างกัน อาชีพและรายได้ที่แตกต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจข่าวสารแตกต่างกัน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การใช้ประโยชน์จากข่าวสาร และความพึงพอใจข่าวสาร พบว่า การเปิดรับข่าวสาร ด้านระยะเวลาในการติดตามข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์จากข่าวสาร ด้านการรู้เหตุการณ์ และมีความพึงพอใจข่าวสารด้านความถูกต้อง น่าเชื่อถือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (การบูรณาการการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11543
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม29.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons