กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11544
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมโภชนศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความรู้ และพฤติกรรมบริโภคอาหารของผู้ป่วยในที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of nutrition education program by applying social support theory based on food knowledge and consumption behavior among acute coronary syndrome in-patients at Naresuan University Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิมลิน ริมปิกุล นฤมล ศิริรัตนพงศ์ธร, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สำอาง สืบสมาน |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ--วิทยานิพนธ์ ระบบหัวใจและหลอดเลือด--โรค--แง่โภชนาการ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงสนับสนุนทางสังคม (2) ศึกษาระดับความรู้ด้านอาหาร (3) สำรวจพฤติกรรมบริโภคอาหาร (4) เปรียบเทียบความรู้ด้านอาหาร และ (5) เปรียบเทียบพฤติกรรมบริโภคอาหารของผู้ป่วยในที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรก่อนและหลังการให้โปรแกรมโภชนศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยในที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จากประชากรผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในปี 2563 ทั้งหมด 141 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 – มีนาคม 2564 จำนวน 78 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 39 คน โดยใช้เทคนิคในการจับคู่ที่มีลักษณะคล้ายกันมากที่สุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และโปรแกรมโภชนศึกษาประยุกต์ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัย (1) แรงสนับสนุนทางสังคมก่อนการทดลองของทั้งสองกลุ่มอยู่ระดับต่ำ หลังการทดลองพบว่า แรงสนับสนุนทางสังคมของกลุ่มเปรียบเทียบเพิ่มขึ้นเป็นระดับปานกลาง กลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นเป็นระดับสูง (2) ระดับความรู้ด้านอาหารก่อนการทดลองทั้งสองกลุ่มอยู่ระดับต่ำ หลังทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้เพิ่มเป็นระดับสูง กลุ่มเปรียบเทียบมีความรู้อยู่ระดับปานกลาง (3) ก่อนการทดลองของทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมบริโภคอาหารทอด ผัด เนื้อสัตว์ติดหนังติดมัน และขนมหวาน หลังการทดลอง พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงดีขึ้น คือ ลดกินอาหารทอดและของหวาน เลือกกินปลาหรือเนื้อสัตว์ไม่ติดหนังติดมันมากขึ้น (4) ก่อนการทดลองทั้งสองกลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ด้านอาหารในระดับต่ำไม่แตกต่างกัน หลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (5) ก่อนการทดลอง กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมบริโภคอยู่ระดับปานกลางและมีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ หลังการทดลอง พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมบริโภคอยู่ระดับดี แต่กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11544 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Hum-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.45 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License