Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11547
Title: โครงสร้างและกระบวนการการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญกับการพัฒนาทางการเมืองไทยภายใต้ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
Other Titles: Thai constitutional court : structure and power exercising to support political development in democratic constitutional monarchy of Thailand
Authors: วรวลัญช์ โรจนพล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีรเดช มโนลีหกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชนะศึก วิเศษชัย, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: ศาลรัฐธรรมนูญ--ไทย
อำนาจตุลาการ--ไทย
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: วัตถุประสงค์งานวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาปัญหาโครงสร้างและกระบวนการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญภายใต้รัฐธรรมนูญ ฯ พุทธศักราช 2540 กับพัฒนาการทางการเมืองไทย 2) ศึกษาปัญหาโครงสร้างและกระบวนการการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ภายใต้รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2550 กับพัฒนาการทางการเมืองไทย และ 3) เสนอรูปแบบโครงสร้างและกระบวนการใช้อำนาของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางการเมืองไทย งานวิจัยชิ้นนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 คน ประกอบด้วย อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นักการเมือง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านรัฐศาสตร์ และนักสื่อสารมวลชน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญภายใต้รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540 ประกอบด้วย ปัญหาเชิงโครงสร้าง ได้แก่ การแทรกแชงของฝ่ายการเมืองในกระบวนการสรรหาตุลาการในส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ ความขัดแย้งระหว่างองค์กรในการใช้อำนาจให้การรับรองตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ การกำหนดคุณสมบัติของตุลาการขาดความเข้มข้นต่อหน้าที่และภารกิจของศาลรัฐธรรมนูญ ความไม่คุ้นเคยกับแบบแผนการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรศาล และการยึดติดกระบวนการพิจารณาของศาลยุติธรรม ปัญหาด้านกระบวนการ ได้แก่ ปัญหาการรับคำร้องและวิธีการพิจารณา 2) ปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญภายใต้รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2550 ประกอบด้วย ปัญหาเชิงโครงสร้าง ได้แก่ ฝ่ายการเมืองเสียงข้างมากมิได้มีส่วนร่วมในการสรรหาตุลาการ และลักษณะความเป็นตุลาการภิวัตน์ ปัญหาเชิงกระบวนการ ได้แก่ ความขัดแย้งในการรับคำร้องโดยตรงจากบุคคลในคดีล้มล้างการปกครองฯ และการตีความอำนาจศาลเกินกว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 3 รูปแบบโครงสร้างและกระบวนการการใช้อำนาจเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางการเมือง ประกอบด้วย โครงสร้างและกระบวนการใช้อำนาจที่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาความเป็นสถาบันและเสถียรภาพทางการเมือง คือ มีความเป็นอิสระ ความสามารถในการปรับตัว ประสิทธิผล และความชอบธรรม
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ร.ด.(รัฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11547
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
167072.pdfเอกสารฉบับเต็ม30.69 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons