กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11551
ชื่อเรื่อง: | การสื่อสารเพื่อการรณรงค์การจัดการขยะของเทศบาลตำบลทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Communication for a garbage management campaign by Thap Sakae Municipality in Prachuab Khiri Khan Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล สุนทร ลํ้าเลิศ, 2509- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุภาภรณ์ ศรีดี |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์ การสื่อสารในการบริหารรัฐกิจ ขยะ--การจัดการ--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อการรณรงค์การจัดการขยะของเทศบาลตำบลทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกี่ยวกับ 1) กระบวนการสื่อสาร และ 2) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง รวม 15 คน ประกอบด้วย นายกเทศมนตรีตำบลทับสะแก เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลทับสะแก จำนวน 4 คน และผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งมีโครงสร้างและแบบสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) ผู้ส่งสาร คือ บุคลากรของเทศบาล สื่อสารไปยังผู้นำชุมชน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน และแกนนำเครือข่ายประชาชน (2) สาร ได้แก่ สารด้านความรู้ เกี่ยวกับหลักการจัดการขยะ ประเภทของขยะ วิธีการคัดแยกขยะ การจัดสถานที่ในการทิ้งขยะที่เหมาะสม สารด้านทัศนคติเกี่ยวกับการตระหนักถึงหน้าที่ในการจัดการขยะและกระตุ้นให้รักชุมชนและรักสิ่งแวดล้อม และสารด้านพฤติกรรมเกี่ยวกับทักษะการลงมือทำเพื่อจัดการขยะแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง (3) ช่องทางการสื่อสาร คือ สื่อบุคคล และสื่อกิจกรรม (4) ผู้รับสาร คือ ผู้นำชุมชนที่รับข้อมูลในลำดับแรกและส่งต่อไปยังประชาชนในพื้นที่เป็นลำดับถัดไป (5) ผลการสื่อสาร คือ ประชาชนมีความรู้ มีทัศนคติ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการขยะในครัวเรือนแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง และประชาชนมีความรับผิดชอบต่อชุมชนมากขึ้น 2) แนวทางในพัฒนาการสื่อสารของเทศบาล ประกอบด้วย (1) จัดทำวางแผนการสื่อสารอย่างเป็นระบบ ใช้สื่อที่หลากหลายในการรณรงค์ (2) จัดอบรมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนทักษะการสื่อสารให้กับผู้ปฏิบัติงาน (3) ออกแบบและพัฒนาเนื้อหาให้มีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย (3) จัดระบบการวัดและประเมินผลการสื่อสารด้านความรู้ความเข้าใจเพื่อนำไปปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป (4) ขยายเครือข่ายการปฏิบัติงานแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน สถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐเพื่อขยายผลการดำเนินงานด้านการรณรงค์ในการจัดการขยะให้เกิดประสิทธิภาพ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11551 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.37 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License