Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11553
Title: ภาพลักษณ์วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
Other Titles: Image of Wat Rakhang Khositaram Woramahawihan
Authors: ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
หัสพร ทองแดง, อาจารย์ที่ปรึกษา
พระครูพิพิธวรกิจจาทร (เผชิญ จันทร์หอม), 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
ภาพลักษณ์องค์การ
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อ 2) การรับรู้ภาพลักษณ์ปัจจุบัน 3) ภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ 4) การเปรียบเทียบภาพลักษณะที่พึงประสงค์ กับภาพลักษณ์ปัจจุบัน 5) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อกับการรับรู้ภาพลักษณ์ปัจจุบัน และภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในทัศนะของประชาชนที่มาท่องเที่ยวและร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มาท่องเที่ยวและร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 โดยใช้ตารางของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 416 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์สถิติใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนและค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) การเปิดรับข่าวสารการดำเนินงานและการจัดกิจกรรมต่างๆ ตามพันธกิจของวัดอยู่ในระดับมาก โดยมากที่สุดคือ ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา รองลงมาคือ ด้านการปกครอง ด้านงานสาธารณูปการภายในวัด ด้านงานสาธารณะสงเคราะห์การศึกษาสงเคราะห์ และด้านการจัดการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไป ตามลำดับ และมีความถี่ของสื่อที่เปิดรับอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการเปิดรับข่าวสารจากสื่อ/กิจกรรมเกี่ยวกับสื่อใหม่ มากกว่าสื่อ/กิจกรรมเกี่ยวกับสื่อดั้งเดิม 2) การรับรู้ภาพลักษณ์ปัจจุบันอยู่ในระดับมาก โดยมากที่สุดคือด้านเอกลักษณ์ขององค์กร รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้านชื่อเสียง ด้านการให้บริการ และด้านการติดต่อระหว่างบุคคล ตามลำดับ 3) การรับรู้ภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก โดยมากที่สุดคือด้านเอกลักษณ์ขององค์กร รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อมทาง ด้านชื่อเสียง ด้านการให้บริการ และด้านการติดต่อระหว่างบุคคล ตามลำดับ 4) การรับรู้ภาพลักษณ์ปัจจุบันน้อยกว่าภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ ทั้งด้านชื่อเสียง ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้านการให้บริการ ด้านการติดต่อระหว่างบุคคล และโดยภาพรวม 5) การเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อในด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านการปกครอง ด้านงานสาธารณูปการภายในวัด ด้านงานสาธารณะสงเคราะห์การศึกษาสงเคราะห์ ด้านการจัดการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไป และการเปิดรับสื่อฯ โดยรวม มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ภาพลักษณ์ปัจจุบันและภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ของวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.(นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่นการเมือง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11553
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.36 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons