กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11558
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการให้การศึกษาผู้ปกครองโดยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย: กรณีศึกษาการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of a parent education model through participatory process to enhance preschool children: a case study in implementing emotional quotient
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรุณี หรดาล
อรทัย เลาอลงกรณ์, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พัชรี ผลโยธิน
วรนาท รักสกุลไทย
คำสำคัญ: การศึกษาปฐมวัย--การมีส่วนร่วมของบิดามารดา
การเรียนแบบมีส่วนร่วม
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการให้การศึกษาผู้ปกครองโดยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย และ (2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการให้การศึกษาผู้ปกครองโดยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนารูปแบบการให้การศึกษาผู้ปกครอง โดยกระบวนการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการให้การศึกษาผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างคือครูปฐมวัยและผู้ปกครอง จำนวน 880 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการให้การศึกษาผู้ปกครองโดยกระบวนการมีส่วนร่วมและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่ จำนวน 15 คน และเด็กปฐมวัยที่ จำนวน 15 คน ซึ่งเป็นเด็กที่อยู่ในการดูแลของผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ คือ รูปแบบการให้การศึกษาผู้ปกครองโดยกระบวนการมีส่วนร่วม แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองแบบสังเกตความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบ และระยะที่ 2 เป็นการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการให้การศึกษาผู้ปกครองโดยกระบวนการมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ปกครองของเด็กปฐูมวัย จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากผู้ปกครองที่สมัครใจและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการให้การศึกษาตามที่กำหนดได้ และเด็กปฐมวัย จำนวน 20 คน ที่อยู่ในการดูแลของผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองเกี่ยวกับการเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย แบบสังเกตความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐูมวัย และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการให้การศึกษาผู้ปกครองโดยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้น มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) แนวคิดที่นำมาใช้ในการพัฒนารูปแบบ 4) ลักษณะของรูปแบบ 5) ขั้นตอนของรูปแบบ ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 เปิดใจเร้าพลัง ขั้นที่ 2 คิดสะท้อนประสบการณ์ ขั้นที่ 3 กระตุ้นความรู้ต่อยอดความคิด ขั้นที่ 4 สรุปสู่แนวปฏิบัติ และขั้นที่ 5 ติดตามสะท้อนผล 6) แนวทางการใช้รูปแบบ และ 7) การประเมินผลการใช้รูปแบบ (2) ประสิทธิผลของรูปแบบการให้การศึกษาผู้ปกครอง โดยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย มีดังนี้ 1) ผู้ปกครองที่ได้รับการจัดกิจกรรมตามรูปแบบ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมจากผู้ปกครองที่ได้รับความรู้ผ่านรูปแบบการให้การศึกษาโดยกระบวนการมีส่วนร่วม มีความฉลาดทางอารมณ์ โดยรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการให้การศึกษาผู้ปกครองโดยกระบวนการมีส่วนร่วมในระดับมากที่สุด
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ศึกษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11558
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168827.pdfเอกสารฉบับเต็ม27.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons