กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11564
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการว่างงานของเยาวชนไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting the Thai youth unemployment |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อภิญญา วนเศรษฐ วารุณี โพธิวิจิตต์, 2536- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การว่างงาน--ไทย การว่างงาน--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | aการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการว่างงานของเยาวชนไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาทั่วไปและสถานการณ์ว่างงานของตลาดแรงงานไทย พ.ศ. 2564 และ 2) วิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการว่างงานของเยาวชนไทยช่วงอายุ 15 - 24 ปี ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2541 - 2542 และ พ.ศ. 2563 - 2564 การศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติโดยใช้ข้อมูล พ.ศ. 2541 2542 2563 และ 2564 ใช้วิธีการถดถอยโลจิสติกแบบทวีในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) พ.ศ. 2564 อัตราว่างงานภาพรวมเท่ากับร้อยละ 1.93 แต่เยาวชนอายุ 15 - 19 ปี และ 20 - 24 ปี มีอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 8.62 และร้อยละ 8.13 สะท้อนปัญหาการว่างงานจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มแรงงานเยาวชนอายุ 15 - 24 ปี มากกว่าแรงงานในวัยอื่น 2) ผลการวิเคราะห์ด้วยการถดถอยโลจิสติกแบบทวิ พบว่า ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ปัจจัยมีที่มีอิทธิพลต่อการว่างงานของเยาวชน ได้แก่ เพศหญิง มีโอกาสว่างงานลดลงร้อยละ 4.16 - 5.05 เมื่อเทียบกับเพศชาย เยาวชนช่วงอายุ 20 - 24 ปี มีโอกาสว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.33 - 8.20 เมื่อเทียบกับช่วงอายุ 15 - 19 ปี เยาวชนที่มีสถานภาพสมรสแล้วมีโอกาสว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.29 - 2.34 เมื่อเทียบกับสถานภาพโสด เยาวชนที่มาจากครัวเรือนขนาดเล็กมีโอกาสว่างงานลดลง ร้อยละ 2.66 - 3.79 เมื่อเทียบกับครัวเรือนขนาดใหญ่ เยาวชนที่อาศัยที่ภูมิภาคอื่น ๆ มีโอกาสว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.03 - 14.90 เมื่อเทียบกับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เยาวชนที่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นมีโอกาสว่างงานมากที่สุด โดยว่างงานลดลงร้อยละ 4.26 - 5.07 และระดับอาชีวศึกษามีโอกาสว่างงานน้อยที่สุด โดยว่างงานลดลง ร้อยละ 16.83 - 17.66 ส่วนวิกฤตโควิด-19 ปัจจัยมีที่มีอิทธิพลต่อการว่างงานของเยาวชน ได้แก่ เพศหญิงมีโอกาสว่างงานเพิ่มขึ้ร้อยละ 6.11 - 6.58 เมื่อเทียบกับเพศชาย เยาวชนช่วงอายุ 20 - 24 ปี มีโอกาสว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.13 - 9.79 เมื่อเทียบกับช่วงอายุ 15 - 19 ปี เยาวชนที่มีสถานภาพสมรสแล้วมีโอกาสว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.91 - 8.04 เมื่อเทียบกับสถานภาพโสด เยาวชนที่มาจากครัวเรือนขนาดเล็กมีโอกาสว่างงานลดลงร้อยละ 3.17 - 4.49 เมื่อเทียบกับครัวเรือนขนาดใหญ่ เยาวชนที่อาศัยที่ภูมิภาคอื่น ๆ มีโอกาสว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.87 - 6.11 เมื่อเทียบกับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยในช่วงวิกฤตโควิด-19 ทำให้เยาวชนมีโอกาสว่างงานลดลงร้อยละ 1.16 - 2.96 โดยเยาวชนที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีมีโอกาสว่างงานมากที่สุด โดยว่างงานลดลงร้อยละ 5.43 - 5.98 และมัธยมศึกษาตอนปลายมีโอกาสว่างงานน้อยที่สุด โดยว่างงานลดลงร้อยละ 5.53 - 7.65 เมื่อเปรียบเทียบทั้ง 2 วิกฤตเศรษฐกิจ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการว่างงานของเยาวชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีผลการศึกษาทิศทางเดียวกัน ได้แก่ ปัจจัยด้านอายุ สถานภาพ ขนาดครัวเรือน และภูมิภาคที่อยู่อาศัย ส่วนปัจจัยที่มีผลการศึกษาแตกต่างกัน ได้แก่ ปัจจัยด้านเพศ และระดับการศึกษา โดยในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เพศชายมีโอกาสว่างงานมากกว่าเพศหญิง และระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นมีโอกาสว่างงานมากที่สุด แต่วิกฤตโควิด-19 เพศหญิงมีโอกาสว่างงานมากกว่าเพศชาย และระดับการศึกษาปริญญาตรีมีโอกาสว่างงานมากที่สุด. |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11564 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
168986.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License