Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11568
Title: | ความพร้อมในการบริหารจัดการของผู้บริหารระบบบำบัดน้ำเสีย ของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด |
Other Titles: | Preparedness of administration for wastewater treatment system's administrator in Mabtapud Industrial Estate and Eastern Seaboard Industrial Estate |
Authors: | ปีติ พูนไชยศรี สุภา พลพิทักษ์, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ริศักดิ์ สุนทรไชย นิตยา เพ็ญศิรินภา |
Keywords: | นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด น้ำเสีย--การบำบัด โรงงานอุตสาหกรรม--การกำจัดของเสีย |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อศึกษาความพร้อมของผู้บริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และอีสเทิร์นซีบอร์ด และมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลทั่วไปของสถานประกอบการ และปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริหารระบบบำบัดน้ำเสียของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และอีสเทิร์นซีบอร์ด (2) ศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสีย ระดับปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารระบบบำบัดน้ำเสียของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และอีสเทิร์นซีบอร์ค (3) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลสถานประกอบการ ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เรื่องระบบบำบัดน้ำเสีย และปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานกับความพร้อมของผู้บริหารระบบบำบัดน้ำเสียในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด และอีสเทิร์นซีบอร์ด (4) เปรียบเทียบความพร้อมของผู้บริหารระบบบำบัดน้ำเสียในการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียของสถานประกอบการในนิคมฯ มาบตาพุด และอีสเทิร์นซีบอร์ด (5) ศึกษาปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินการของผู้บริหารระบบบำบัดน้ำเสียของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และอีสเทิร์นซีบอร์ด ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารระบบบำบัดน้ำเสีย ส่วนใหญ่มีระดับความพร้อมอยู่ในระดับสูง (1) นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด สถานประกอบการส่วนใหญ่เป็นปิโตรเคมี ส่วนนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ดสถานประกอบการส่วนใหญ่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ สิ่งที่พบมากที่สุด จำนวนพนักงานอยู่ระหว่าง 100-500 คน อายุระหว่าง 26-35 ปี มีสถานภาพสมรสเป็นโสค มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี มีตำแหน่งงานเป็นหัวหน้างาน/ผู้จัดการ (2) มีความรู้ในเรื่องการบำบัดน้ำเสียอยู่ในระดับปานกลาง มีระดับปัจจัยจูงใจ อยู่ในระดับสูง (3) สถานประกอบการที่เป็นปิโตรเคมี มีความพร้อมมากกว่า สถานประกอบการที่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ระดับความรู้ และระดับปัจจัยจูงในการปฏิบัติหน้าที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพร้อมในการบริหารจัดการของผู้บริหารระบบบำบัดน้ำเสีย อันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และพบว่า(4) นิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุดและนิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด มีความแตกต่างกันในเรื่องความพร้อมในการบริหารจัดการของผู้บริหารระบบบำบัดน้ำเสีย อย่างมีนัยสำคัญทาสถิติที่ระดับ0.05 (5) ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานที่พบมาก คือ ผู้บริหารระดับสูงขาดการใส่ใจในเรื่องระบบบำบัดน้ำเสียอย่างจริงจังผู้รับผิดชอบดูแลระบบบำบัด และผู้ช่วยดูแลระบบบำบัดบางคนขาดความชำนาญในเรื่องการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ขาดการวางแผนการดำเนินการประจำปีที่ดี ไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้เพื่อเป็นพื้นฐานในการแก้ไขปรับปรุงระบบ ขาดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา หรือการวางแผนร่วมกันกับหน่วยงานอื่น ไม่มีการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานเพื่อเป็นมาตรฐานการทำงาน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11568 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License