กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11572
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the retention of dentists in community hospitals
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา ผลประเสริฐ
วัฒนา ทองปัสโณว์, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พรทิพย์ เกยุรานนท์
คำสำคัญ: ทันตแพทย์--ความพอใจในการทำงาน
โรงพยาบาลชุมชน
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา(1) คุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงาน องค์กร และปัจจัยภายนอกของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน(2) ความต้องการคงอยู่ของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน (3) ความคิดเห็นต่อการเพิ่มเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายและปัจจัยสำคัญที่สุดต่อการคงอยู่ของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน (4) ข้อเสนอแนะการปรับปรุงเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนของทันตแพทย์ (5) ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงาน องค์กร และปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการคงอยู่ของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน และ(6) ปัจจัยที่มีอิทธิพลร่วมต่อการคงอยู่ของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ผลการศึกษา (1) ทันตแพทย์โรงพยาบาลชุมชน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพโสด ภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด มีอายุเฉลี่ย 33.1 ปี และอายุราชการเฉลี่ย 7.9 ปี จบจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยังไม่ได้รับการศึกษาต่อ ที่ทำงานปัจจุบันเป็นที่ทำงานแห่งแรก ระดับตำแหน่งทันตแพทย์ชำนาญการ ไม่ได้เป็นหัวหน้าฝ่ายงาน ไม่มีคลินิกส่วนตัว มีความต้องการศึกษาต่อ รายได้เฉลี่ย 73, 641.3 บาทต่อเดือน และมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานองค์กร และปัจจัยภายนอก ระดับปานกลาง (2) ทันตแพทย์มีความต้องการคงอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 77.9 (3) ทันตแพทย์ ร้อยละ 89.8 มีความเห็นว่าการเพิ่มเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย มีผลต่อการคงอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน และปัจจัยสำคัญที่สุดต่อการคงอยู่ของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน คือ ความพึงพอใจในค่าตอบแทน (4) ข้อเสนอแนะการปรับปรุงเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ อาคารสถานที่และเครื่องมือ ค่าตอบแทน และภาระงาน ตามลำดับ (5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ อายุ เพศสถานภาพสมรส การมีบุตร การได้รับการศึกษาต่อ ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิลำเนาและที่ทำงาน ลำดับที่ของโรงพยาบาลที่ปฏิบัติงาน ระดับตำแหน่ง อายุราชการ ความต้องการศึกษาต่อ การบริหารงานในโรงพยาบาล การควบคุมบังคับบัญชา ความก้าวหน้าในงาน รายได้ ความพึงพอใจต่อรายได้ ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน และสวัสดิการบ้านพัก (6) ปัจจัยที่มีอิทธิพลร่วมต่อการคงอยู่ของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ความต้องการศึกษาต่อ ระดับตำแหน่ง เพศ ลำดับที่ของโรงพยาบาลที่ปฏิบัติงาน สวัสดิการบ้านพัก และความพึงพอใจต่อรายได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11572
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
125476.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons