Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11580
Title: | การวิเคราะห์แนวทางการกำหนดราคาค่าใช้น้ำของสหกรณ์ผู้ใช้น้ำ กรณีศึกษาอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร |
Other Titles: | Water pricing : a case study of the water-user cooperative in Khlong Khlung district, Kamphaeng Phet province |
Authors: | จรินทร์ เทศวานิช สมควร พานิชสงเคราะห์, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์ วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ |
Keywords: | การใช้น้ำ--ไทย สหกรณ์ผู้ใช้น้ำ การกำหนดราคา |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงวิธีการกำหนดราคาค่าใช้น้ำแบบต่าง ๆ (2) เพื่อทราบถึงราคาค่าใช้น้ำของสหกรณ์ผู้ใช้น้ำที่มีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์หรือความต้องการใช้น้ำของเกษตรกร ผู้ใช้น้ำที่สำคัญได้แก่ ค่าแรงงานของครัวเรือนต่อไร่ ราคาค่าใช้น้ำ และจำนวนรถไถนาที่ผู้ใช้น้ำมีอยู่ โดยมีค่าระดับนัยสำคัญแต่ละปัจจัยที่ 0.001 (2) ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาค่าใช้น้ำที่ผู้ใช้น้ำเห็นว่ามีความเหมาะสมและมีความเต็มใจที่จะจ่าย มีค่าเท่ากับ -2.967 กล่าวคือ เมื่อราคาค่าใช้น้ำต่อไร่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ปริมาณความต้องการใช้น้ำจะเปลี่ยนแปลงลดลงถึงร้อยละ 2.967 (3) ความสามารถที่จะจ่ายค่าใช้น้ำของผู้ใช้น้ำต่อสหกรณ์โดยวัดจากจำนวนผลตอบแทนหรือกำไรสุทธิจากการทำนาก่อนการจ่ายค่าใช้น้ำ เท่ากับ 586.92 บาทต่อไร่สำหรับการกำหนดราคาค่าใช้น้ำแบบบวกเพิ่มเพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด กรณีที่ 1 กรณีสหกรณ์ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลทั้งระบบชลประทานและค่ากระแสไฟฟ้าบางส่วน สหกรณ์ต้องกำหนดราคาเท่ากับ 190.10 บาทต่อไร่ กรณีที่ 2 กรณีสหกรณ์ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลเฉพาะระบบชลประทาน สหกรณ์ต้องกำหนดราคาเท่ากับ 416.04 บาทต่อไร่ และกรณีที่ 3 กรณีสหกรณ์ไม่ได้รับการอุดหนุนใด ๆ จากรัฐ สหกรณ์จะมีต้นทุนการจัดบริการน้ำเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 610.62 บาท ซึ่งสูงกว่าความสามารถที่จะจ่ายค่าใช้น้ำของเกษตรกรผู้ใช้น้ำ ทำให้สหกรณ์จะ ไม่สามารถดำเนินธุรกิจให้บริการสูบน้ำได้ต่อไป เนื่องจากน้ำนับเป็นปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำนาดังนั้นรัฐบาลจึงควรให้การอุดหนุนค่ากระแสไฟฟ้าบางส่วนแก่สหกรณ์ต่อไป โดยที่สหกรณ์ก็ต้องพัฒนาด้านการบริหารจัดการธุรกิจการให้บริการสูบน้ำเพื่อการเกษตรนี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยการลดต้นทุนของธุรกิจลง การส่งเสริมและควบคุมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้น้ำให้มีการใช้น้ำตามปริมาณที่เหมาะสมอย่างประหยัด หรือการแยกกลุ่มการจัดการเฉพาะธุรกิจนี้เป็น กลุ่มย่อยเพื่อให้สามารถควบคุมดูแลและบริหารจัดการการใช้น้ำได้อย่างทั่วถึง สำหรับการกำหนดราคาค่าใช้น้ำ สหกรณ์ควรกำหนดราคาแบบเป็นระดับขั้นอัตราราคาลดหลั่นตามจำนวนพื้นที่การใช้น้ำ โดยคำนึงถึงความเต็มใจที่จะจ่ายค่าใช้น้ำของผู้ใช้น้ำ (Willingness to pay) ผสมผสานกับแนวทางการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายการชลประทาน (Irrigation Cost Recovery) เป็นสำคัญ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11580 |
Appears in Collections: | Econ-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License