กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11586
ชื่อเรื่อง: | การประเมินมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ของระบบนิเวศน์ บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Economic valuation of coastal ecosystems in the Andaman Sea coastal area of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์ ภารดี สุวรรณรัตนศรี, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อุดมศักดิ์ ศีลประชาวงศ์ |
คำสำคัญ: | นิเวศวิทยาชายฝั่ง ทะเลอันดามัน |
วันที่เผยแพร่: | 2545 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเลเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน และการใช้ประโยชน์จากทะเล ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะในบริเวณอ่าว และพื้นที่บริเวณชายฝั่ง ทำให้ระบบนิเวศขาดความสมดุล มีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของผู้คนและชุมชนบริเวณนั้น รวมไปถึงถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ดังนั้น การรักษาสมดุลของระบบนิเวศจึงควรปลูกฝังให้ประชาชนรู้จักรักษาระบบนิเวศ (Ecosystems) ทางทะเล และดูแลถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทางทะเลรวมไปถึงปะการัง และป่าชายเลน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ก่อให้เกิดความคุ้มค่าทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ผู้ศึกษาจึงได้ประเมินมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ของระบบนิเวศ ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการพิจารณาค่าเสียโอกาสของระบบนิเวศในรูปของประโยชน์ที่จะเสียไป หากมีการใช้ประโยชน์ในระบบนิเวศที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อระบบนิเวศน์ชายฝั่งทะเลได้ ผลการศึกษาพบว่ามูลค่าของการปรับปรุงระบบนิเวศชายฝั่งอ่าวพังงาที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ มีมูลค่าเท่ากับ 5,842 ล้านบาท และเมื่อนำมูลค่าที่ได้มาคำนวณหามูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ในการปรับปรุงพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณชายฝั่งอ่าวพังงามีค่าประมาณ 15,519 บาทต่อไร่ สำหรับในการศึกษาครั้งต่อไป หากผู้สนใจท่านใดต้องการนำมูลค่าที่ผู้ศึกษาได้มา ไปคิดเป็นต้นทุนของโครงการใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นบริเวณรอบ ๆ อ่าวพังงาในอนาคตข้างหน้า ผู้ศึกษาเห็นว่า ควรมีการประเมินมูลค่าโดยใช้วิธี CVM อีกครั้ง แล้วนำมาเปรียบเทียบกับมูลค่าที่ผู้ศึกษาได้ทำไว้คราวนี้ซึ่งเป็นการประเมินมูลค่าในภาวะที่ยังไม่มีโครงการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรภายนอกที่จะทำให้เกิดผลกระทบ เนื่องจากความคิดเห็นของแต่ละบุคคลในแต่ละสถานการณ์จะมีความแตกต่างกันออกไป และผู้ศึกษาเห็นว่า ควรให้มีการสอบถามเพื่อหาความยินดีที่จะจ่ายทั้งของชาวไทย และชาวต่างชาติ เพราะจะช่วยให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนัก และเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่รอบ ๆ ตัวของพวกเขาว่าแท้จริงแล้วมิได้เป็นสิ่งที่ได้มาโดยมิต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ หากแต่มีต้นทุน และค่าใช้จ่ายในการบำรุงและดูแลรักษาที่พวกเขามองข้ามไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11586 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License