กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11595
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ต้นทุนและผลได้ระหว่างการผลิตการเกษตรกระแสหลักกับการเกษตรทฤษฎีใหม่ กรณีศึกษาจังหวัดมุกดาหาร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Comparative cost-benefit of mainstream agriculture and new theory agriculture : a case of Mukdahan province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พอพันธ์ อุยยานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นริสา นวมจิตต์, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: เกษตรทฤษฎีใหม่--ไทย--มุกดาหาร
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งในมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เพื่อเป็นการสร้างและฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายและผลได้ระหว่างการผลิตการเกษตรกระแสหลักกับการเกษตรทฤษฎีใหม่ และ (2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัด ความสามารถในการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรที่มีรูปแบบการผลิตแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ สำหรับเป็นแนวทางส่งเสริมและปรับปรุงรูปแบบการดำเนินงานของภาครัฐในการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนให้บรรลุผลสำเร็จต่อไป การวิจัยครั้งนี้พบว่า (1) ในระยะแรกของการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ผลผลิตยังได้รับไม่เต็มที่จึงมีผลได้ต่ำ แต่ในระยะยาวเมื่อผลผลิตจากการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ได้รับเต็มที่ คาดว่าผลได้จะเพิ่มขึ้นและหมุนเวียนสม่ำเสมอตลอดปีและดีกว่าการทำเกษตรกระแสหลัก (2) เกษตรกรที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ มีขนาดเนื้อที่ถือครองโดยเฉลี่ยครัวเรือนละ 27 ไร่ มากกว่าเกษตรกรกระแสหลัก ที่มี 19 ไร่ต่อครัวเรือน ซึ่งไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรยากจนให้มีรายได้สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อแบ่งกลุ่มเกษตรกรทฤษฎีใหม่ เป็น 2 กลุ่มตามจำนวนเนื้อที่ถือครอง ผลการวิเคราะห์รายได้สุทธิ พบว่าเกษตรกรกลุ่มที่ 1 เนื้อที่ถือครองต่ำกว่า 15 ไร่ มีรายได้สุทธิ 1,347.39 บาทต่อปี มากกว่ากลุ่มที่ 2 เนื้อที่ถือครอง 15 ไร่ขึ้นไป มีรายได้สุทธิ 1,070.99 บาทต่อปี แสดงให้เห็นว่า เกษตรกรรายย่อยมีการใช้ปัจจัยการผลิตได้มีประสิทธิภาพกว่า และเป็นการยืนยันหลักการว่า การจัดการผลิตภาคเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ จะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยตามเป้าหมายได้จริง (3) ต้นทุนทางสังคมที่รัฐลงทุนให้เกษตรทฤษฎีใหม่ 1,035 บาทต่อไร่ สูงกว่าเกษตรกระแสหลักที่มี ต้นทุนทางสังคม 422 บาทต่อไร่ ในขณะที่มีรายได้สุทธิหลังหักงบอุดหนุนจากรัฐใกล้เคียงกัน คือ เกษตรทฤษฎีใหม่ 854 บาท และเกษตรกระแสหลัก 867 บาท ดังนั้น ในระยะนี้ในแง่ของอัตรา ผลตอบแทนการลงทุน เงิน 1 บาท ที่รัฐลงทุนในการสนับสนุนเกษตรกระแสหลักจะมีประสิทธิ ภาพมากกว่าที่จะลงทุนจำ นวนเงินเท่ากันในการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ดังนั้น จึงจำ เป็นที่จะ ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อให้การลงทุนของรัฐมีประสิทธิภาพใกล้ เคียงกันกับเกษตรกระแสหลัก จึงคุ้มค่าต่อการลงทุนของสังคม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11595
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
78674.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons