กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11608
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนากระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์พริกในโรงเรือน ตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development guidelines of greenhouse chilli seed production process in Talad Sub-district, Renu Nakhon District, Nakhon Phanom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัจจา บรรจงศิริ
ชไมพร อักษรศักดิ์, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วรรธนัย อ้นสำราญ
คำสำคัญ: พริก--เมล็ดพันธุ์ --การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพภูมิสังคมของเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์พริกในโรงเรือน ตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม 2) กระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์พริกในโรงเรือน ตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตเมล็ดพันธุ์พริกในโรงเรือน ตำบลทำาลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม และ 4) แนวทางการพัฒนากระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์พริกในโรงเรือน ตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 50.43 ปี รายได้ดีเป็นสิ่งจูงใจ ในการปลูกพริกของเกษตรกร มีการจ้างแรงงานปลูกพริก เฉลี่ย 7.57 คน ประสบการณ์การปลูกเฉลี่ย 4.57 ปี ใช้พื้นที่ทำการปลูกพริกเฉลี่ย 0.91 ไร่ 2) การจัดการกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์พริกในโรงเรือน พบว่าเกษตรกรปฏิบัติตามข้อกำหนดหลักการผลิตเมล็ดพันธุ์พริก ตั้งแต่การเตรียมดิน การเพาะกล้า การผสมเกสร การดูแลรักษาการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว 3) ปัญหาในการผลิตเมล็ดพันธุ์พริกในโรงเรือน ส่วนใหญ่พบปัญหาด้านความต้องการสารชีวภัณฑ์ และแรงงานผสมเกสรไม่เพียงพอ เกษตรกรเสนอแนะให้มีการตรวจวิเคราะห์ดินและการบริการให้มีความรวดเร็วทันท่วงที ควรมีการอบรมความรู้ในด้านศัตรูพืช การใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดโรคแมลง และสนับสนุนสารชีวภัณฑ์ 4) แนวทางการพัฒนากระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์พริกในโรงเรือน (1) ด้านการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร ได้แก่ การถ่ายทอดความรู้ในด้านการปรับปรุงดิน การจัดการศัตรูพืช การใช้สารชีวภัณฑ์ เทคนิคการผสมเกสร (2) ด้านการพัฒนากระบวนการผลิต ได้แก่ ส่งเสริมให้เกษตรกรจัดทำแผนการผลิต ทำแปลงพยากรณ์การระบาดของศัตรูพืช และนำเทคโนโลยีลดต้นทุนมาใช้ในการผลิต (3) ด้านการพัฒนาลดต้นทุนการผลิต ได้แก่ การส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินลดการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งเสริมให้เกษตรกรจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อลดต้นทุนในการใช้วัสดุทางการเกษตรต่างๆ (4) ด้านการพัฒนากลุ่มและกระบวนการกลุ่ม ได้แก่ ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่ม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนเข้าสนับสนุนได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การแก้ไขปัญหา ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนและศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน เพื่อสนับสนุนและจำหน่าย ผลิตสารชีวภัณฑ์ และให้ความรู้และบริการด้านการตรวจวิเคราะห์ดินเบื้องต้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11608
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons