Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11610
Title: | การศึกษาความเต็มใจจ่ายค่าจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน : กรณีศึกษา จังหวัดพังงา |
Other Titles: | A study of willingness to pay for municipal garbage management : a case study of Phang - Nga province |
Authors: | ณรงค์ศักดิ์ ธนวิบูลย์ชัย สมมุติ ช่วยเทศ, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จุไร ทัพวงษ์ |
Keywords: | ขยะ--การจัดการ--ไทย--พังงา ขยะ--ค่าใช้จ่าย การกำจัดของเสีย--ไทย--พังงา |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าความเต็มใจที่จะจ่ายค่าจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน โดยวิธีการประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมโดยการสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 552 คน จากตัวแทนครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลท้ายเหมือง จำนวน 309 คน และตำบลเหมาะ จำนวน 243 คน ในปี พ.ศ. 2546 ประมาณค่าสัมประสิทธิ์ของฟังก์ชันความน่าจะเป็นด้วยวิธีการภาวะความน่าจะเป็นสูงสุด (Maximum Likelihood Estimation : MLE) ผลการศึกษากรณีที่ไม่มีการคัดแยกประเภทขยะมูลฝอยก่อนทิ้ง พบว่า ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลท้ายเหมืองมีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าจัดการขยะมูลฝอยเท่ากับ 38.39 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน มีค่าความเต็มใจที่จะจ่ายรวมของชุมชนเท่ากับ 50,751.58 บาทต่อเดือน ส่วนตำบลเหมาะมีความเต็มใจที่จะจ่ายเท่ากับ 27.05 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน มีค่าความเต็มใจที่จะจ่ายรวมของชุมชน เท่ากับ 16,500.50 บาทต่อเดือน จากการวิเคราะห์แบบจำลอง Logit ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าความเต็มใจที่จะจ่ายได้แก่ ค่าธรรมเนียมจัดการขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์ในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยรายได้เฉลี่ยต่อ 1 เดือนของครัวเรือน ลักษณะการถือครองที่พักอาศัย ปริมาณขยะมูลฝอยที่ครัวเรือนทิ้งต่อวัน ชุมชนและปัจจัยความคิดเห็น มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผลการ" ศึกษากรณีที่มีการคัดแยกประเภทขยะมูลฝอยก่อนทิ้งพบว่าประชาชนในเขตเทศบาลท้ายเหมืองมีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าจัดการขยะมูลฝอยเท่ากับ 23.11 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน มีค่าความเต็มใจที่จะจ่ายรวมของชุมชนเท่ากับ 30,551.42 บาทต่อเดือน ส่วนตำบลเหมาะมีความเต็มใจที่จะจ่ายเท่ากับ 17.63 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน มีค่าความเต็มใจที่จะจ่ายรวมของชุมชนเท่ากับ 10,754.30 บาทต่อเดือน จากการวิเคราะห์แบบจำลอง Tobit ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าความเต็มใจที่จะจ่าย ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน และปัจจัยชุมชนมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยลักษณะของที่พักอาศัยมีความสัมพันธ์ในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยและอัตราค่าธรรมเนียมจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความเต็มใจที่จะจ่ายของประชาชนในชุมชนได้ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11610 |
Appears in Collections: | Econ-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License