กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11616
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนเลี้ยงสุกรแบบผูกพันกับแบบอิสระในจังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Comparative analysis of cost and benefit on investment between individual and contract farming swine production in Chachoengsao province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาสินี ตันติศรีสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
สัจจา ระหว่างสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุเมธ เดชรักษา, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: สุกร--การเลี้ยง--ไทย--ฉะเชิงเทรา
สุกร--การเลี้ยง--ต้นทุนการผลิต
สุกร--การเลี้ยง--อัตราผลตอบแทน
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนเลี้ยงสุกร และวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงิน ของการลงทุนเลี้ยงสุกรในเชิงเปรียบเทียบระหว่างการเลี้ยงแบบผูกพันและแบบอิสระในจังหวัดฉะเชิงเทรา ผลการวิจัยพบว่า การเลี้ยงสุกรแบบอิสระ กรณีใช้เงินทุนตัวเองทั้งหมด ฟาร์มขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ อัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับร้อยละ 10 ร้อยละ 33.72และร้อยละ 29.81 ตามลำดับ ฟาร์มสุกรทุกขนาดมีความเป็นไปได้ในการลงทุน ณ อัตราการคิดลดร้อยละ 9.75 ฟาร์มขนาดใหญ่มีอัตราผลตอบแทนสูงสุด กรณีเกษตรกรกู้เงินลงทุนครึ่งหนึ่งของเงินลงทุน และกู้เงินมาลงทุนทั้งหมด ฟาร์มสุกรขนาดกลางและขนาดใหญ่มีความเป็นไปได้ในการลงทุน ส่วนฟาร์มขนาดเล็กมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนติดลบ จึงไม่มีความเหมาะสมที่จะลงทุน การเลี้ยงแบบผูกพัน กรณีใช้เงินทุนตัวเองทั้งหมด ฟาร์มขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่อัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับร้อยละ 15.32 ร้อยละ 16.34 และร้อยละ 12.27 ตามลำดับ ฟาร์มสุกรทุกขนาดมีความเป็นไปได้ในการลงทุน ณ อัตราการคิดลดร้อยละ 9.75 ฟาร์มขนาดกลางมีอัตราผลตอบแทนสูงสุด กรณีเกษตรกรกู้เงินลงทุนครึ่งหนึ่งของเงินลงทุน และกู้เงินมาลงทุนทั้งหมด ฟาร์มสุกรขนาดเล็กและขนาดกลางมีความเป็นไปได้ในการลงทุน ส่วนฟาร์มขนาดใหญ่มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนติดลบจึงไม่เหมาะสมต่อการลงทุนข้อเสนอแนะ : เกษตรกรผู้เลี้ยงแบบอิสระ ต้องมีเงินทุนสำรองที่เพียงพอเพื่อรองรับความเสี่ยงเรื่องราคาสุกร และราคาวัตถุดิบ อีกทั้งต้องมีประสบการณ์มีความรู้ในการเลี้ยงสุกร สำหรับการเลี้ยงแบบผูกพันผู้เลี้ยงจะลงทุนในเริ่มแรกสูง และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัทคู่สัญญา มีความซื่อสัตย์ ส่วนภาครัฐควรให้การส่งเสริมสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุน ด้านตลาด ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจน และมีการควบคุมปริมาณการผลิตให้เหมาะสม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11616
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
86356.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons