กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11618
ชื่อเรื่อง: | การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของป่าชายเลนในพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนองจังหวัดระนอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | An economic valuation of mangroves in the Ranong biosphere reserve |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จุไร ทัพวงษ์ พนิสา พิจยานนท์, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ณรงค์ศักดิ์ ธนวิบูลย์ชัย |
คำสำคัญ: | พื้นที่สงวนชีวมณฑล--ระนอง ป่าชายเลน--ระนอง |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของป่าชายเลนในพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนองให้ออกมาเป็นตัวเงิน โดยใช้วิธีการประเมินมูลค่าทางตรงภายใต้ตลาดสมมติ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจะจ่ายเงินของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลนในพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีค่าความเต็มใจจะจ่ายสำหรับการอนุรักษ์ป่าชายเลนผืนนี้ เฉลี่ย 663.08 บาทต่อครัวเรือนต่อปี มูลค่าของป่าชายเลนที่ได้จากประชาชนในพื้นที่ เท่ากับ1,861,668.39 บาท (2) ปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนเงินที่กลุ่มตัวอย่างเต็มใจจะจ่ายขึ้นอยู่กับ ราคาเสนอเริ่มต้น และระดับการศึกษา ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 งานวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลนให้ประชาชนทราบมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับความสำคัญของป่าชายเลนและระบบนิเวศป่าชายเลนและควรมีการจัดตั้งป่าชุมชนขึ้น เป็นการวางขอบเขตให้ประชาชนรู้จักบริหารจัดการทรัพยากรที่มี อยู่จำกัด เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของพื้นที่สงวนชีวมณฑลอย่างแท้จริง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิาช, 2547 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11618 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License