กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11626
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวมันของสมาชิกศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่วชุมชนในอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development guidelines for mung bean seeds production of community bean seed center in Nongphai District, Phetchabun Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธำรงเจต พัฒมุข มะลิสา ถือศิล, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วนาลัย วิริยะสุธี |
คำสำคัญ: | ถั่วเขียว--เมล็ดพันธุ์--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่วชุมชน อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) ศึกษาสภาพการผลิต ต้นทุนผลตอบแทนและการกระจายเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวมันพันธุ์ชัยนาท 72 ของสมาชิกศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่วชุมชน อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ 3) ประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวมันของเกษตร 4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวมัน 5) เสนอแนวทางการพัฒนาการผลิตและการจัดการของศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่วชุมชน ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 85 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 52.50 ปี มีรายได้จากภาคการเกษตร เฉลี่ย 185,400 บาท/ปี/ราย ร้อยละ 85 มีหนี้สินจากการลงทุนภาคการเกษตร 2) ในส่วนของสภาพการผลิต เกษตรกรมีประสบการณ์ปลูกถั่วเขียวผิวมันปลายฤดูฝนเฉลี่ย 10.20 ปี พื้นที่ปลูกเฉลี่ย 8.86 ไร่ และมีระดับความรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวมัน และระดับการปฏิบัติตามกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยรวม 2.99 และ 2.67 ตามลำดับ ผลผลิตเฉลี่ย 86.68 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนผลิตเฉลี่ย 2,623.51 บาทต่อไร่ อัตราผลตอบแทนร้อยละ - 9.82 เกษตรกรกระจายเมล็ดพันธุ์หลายช่องทาง ช่องทางที่ 1 จำหน่ายให้พ่อค้า ร้อยละ 100 ช่องทางที่ 2 ส่งคืนให้ศูนย์ฯ ร้อยละ 55.00 และช่องทางที่ 3 เก็บเมล็ดพันธุ์เอง ร้อยละ 30.00 3) ผลทดสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ มีค่าเฉลี่ยความบริสุทธิ์ความชื้น และอัตราการงอก ร้อยละ 88.13 7.41 และ 90.42 ตามลำดับ 4) ระดับปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวมัน มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ (1) ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดี (2) ต้นทุนการผลิตสูง (3) ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่ำ (4) คุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้ด้อยคุณภาพ (5) ปัญหาด้านความรู้ในเทคโนโลยีการผลิต ดังนั้น 5) ผลวิเคราะห์จุดแข็ง ได้แก่ ประธานศูนย์ฯมีความเป็นผู้นำและมีความเสียสสะ พื้นที่ปลูกเหมาะสม จุดอ่อน ได้แก่ คุณภาพผลผลิตต่อไร่ต่ำ เกษตรกรไม่ปฏิบัติตามกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ อุปสรรค ได้แก่ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ขาดความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ของศูนย์ถั่วชุมชน เมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้ขายได้ในราคาถูก และโอกาสได้แก่ มีการบริหารปัจจัยการผลิตให้แก่สมาชิก 2) ได้รับงบประมาณสนับสนุนปัจจัยการผลิตการจัดทำแปลงขยายเมล็ดพันธุ์ 6) กลยุทธ์และแนวทางการพัฒนาการผลิต คือ (1) ส่งเสริมพัฒนาความรู้ ทักษะกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ ได้แก่ การทดสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ก่อนเก็บหรือก่อนปลูก ฝึกปฏิบัติจริงจัดทำแปลงขยายพันธุ์ ลดปริมาณการใช้สารเคมี (2) ด้านการผลิตจัดทำโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวมันแบบลดต้นทุน (3) เชื่อมโยงการตลาดกับกลุ่มเกษตรกร (4) จัดตั้งกองทุนเมล็ดพันธุ์และ (5) บริหารจัดการศูนย์ฯให้มีความเข็มแข็ง โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ระเบียบข้อปฏิบัติของศูนย์ให้ชัดเจน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11626 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.77 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License