กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11627
ชื่อเรื่อง: การจัดการร้านค้าปลีกสมัยใหม่สำหรับเนื้อสัตว์และความพึงพอใจของผู้บริโภคในอำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Management of modern retail stores selling meat and consumer satisfaction in Mueang Saraburi District, Saraburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา โพธิ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภวัต เจียมจิณณวัตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐปนรรฆ์ ชูไข, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ร้านค้าปลีก
ร้านค้าปลีก--การจัดการ
ความพอใจของผู้บริโภค
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลทั่วไปของร้านค้าปลีกสมัยใหม่สำหรับเนื้อสัตว์ 2) ศึกษาสภาพการจัดการร้านค้าปลีกสมัยใหม่สำหรับเนื้อสัตว์ 3) ศึกษาลักษณะการซื้อสินค้าเนื้อสัตว์ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการจัดการของร้านค้าปลีกสมัยใหม่สำหรับเนื้อสัตว์ และ 5) เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการจัดการของร้านค้าปลีกสมัยใหม่สำหรับเนื้อสัตว์จำแนกตามรูปแบบของร้านค้าปลีกในอำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ผลการวิจัยพบว่า 1) ร้านค้าปลีกสมัยใหม่สำหรับเนื้อสัตว์มีระยะเวลาการเปิดให้บริการมาแล้วโดยเฉลี่ย 6 ปี ระยะเวลาเปิดร้านตั้งแต่ 9-24 ชั่วโมงต่อวัน และใช้พนักงานจำนวนน้อย 2) สภาพการจัดการร้านค้าปลีกสมัยใหม่สำหรับเนื้อสัตว์ในภาพรวมมีความคล้ายคลึงกัน เน้นการจัดสินค้าเป็นหมวดหมู่ และมีส่วนประสมผลิตภัณฑ์สำหรับเนื้อสัตว์หลายรูปแบบ 3) ลักษณะการซื้อสินค้าเนื้อสัตว์คือผู้บริโภคเข้ามาเลือกดูสินค้าแล้วจึงตัดสินใจซื้อ ส่วนใหญ่มีความถี่ในการซื้อสินค้าเนื้อสัตว์ 1-3 ครั้งต่อเดือน จำนวนเงินที่ซื้อสินค้าเนื้อสัตว์101-200 บาทต่อครั้ง และซื้อสินค้าช่วงเย็นเวลา 16.01-19.00 น. 4) ความพึงพอใจของผู้บริโภคโดยรวมต่อการจัดการของร้านค้าปลีก 6 ด้าน พบว่า ด้านการกำหนดสถานที่ตั้งร้านค้าปลีก ด้านการกำหนดส่วนประสมผลิตภัณฑ์สำหรับเนื้อสัตว์ ด้านการกำหนดราคา และด้านการออกแบบร้านค้าปลีกและการจัดวางสินค้า ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการสื่อสารของร้านค้าปลีกและด้านการให้บริการลูกค้ามีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 5) การเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการจัดการของร้านค้าปลีกด้านต่าง ๆ 4 รูปแบบ พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในปัจจัยย่อยทุกปัจจัยใน 5 ด้านยกเว้นด้านการออกแบบร้านค้าปลีกและการจัดวางสินค้าใน 2 ปัจจัยย่อยคือปัจจัยอุณหภูมิในร้านค้าเย็นสบายและปัจจัยร้านค้ามีความโปร่งสบาย ไม่คับแคบ พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการทรัพยากรเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11627
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons