กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11630
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการใช้สินเชื่อของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The loans behavior of clients of bank for agriculture and agricultural cooperative in Laokhan district, Kanchanburi [i.e. Kanchanaburi] province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมบัติ พันธวิศิษฏ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรรฆย์คณา แย้มนวล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมพล อบเชย, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
สินเชื่อธนาคาร
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สินเชื่อของเกษตรกรลูกค้าธ.ก.ส. (2) ศึกษาลักษณะของเกษตรกรที่ใช้สินเชื่อผิดวัตถุประสงค์ (3) ศึกษาถึงผลกระทบของการใช้สินเชื่อผิดวัตถุประสงค์ ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมการใช้สินเชื่อของเกษตรกรลูกค้าธ.ก.ส. วัตถุประสงค์ในการกู้เงินจาก ธ.ก.ส. คือ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเกษตรร้อยละ 77.34 และทั้งเป็นค่าใช้จ่ายและค่าลงทุนในการเกษตรร้อยละ 13.33 แต่จากการศึกษาพฤติกรรมการใช้เงินกู้จริงของเกษตรกรพบว่าลูกค้านำไปใช้ทั้งเป็นค่าใช้จ่ายและลงทุนในการเกษตรร้อยละ 57.33 และเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และชำระหนี้เก่า เป็นต้น ร้อยละ 42.67 (2) จากผลการวิจัยข้างต้นมีเกษตรกรที่ใช้เงินกู้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ร้อยละ 58.66 และใช้เงินกู้ผิดวัตถุประสงค์ร้อยละ 41.34 การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เงินกู้ผิดวัตถุประสงค์ โดยใช้แบบจำลองโลจิทพบว่ามีหลายปัจจัย ได้แก่ เนื้อที่เพาะปลูก ปริมาณการใช้ปุ๋ยเฉลี่ยต่อไร่ อายุของหัวหน้าครัวเรือน มูลค่าทรัพย์สินของครัวเรือนเกษตรกร รายได้จากกิจกรรมที่มิใช่การเกษตร สัดส่วนของรายได้จากกิจกรรมการเกษตรต่อรายได้ทั้งหมด อัตราส่วนผู้ที่ไม่อยู่ในวัยทำงานและการออมเฉลี่ย แต่จากการประมาณค่าทางสถิติ พบว่าปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (3) การศึกษาผลกระทบการใช้เงินกู้ผิดวัตถุประสงค์ของลูกค้าพบว่า จะทำให้ลูกค้ามีหนี้ค้างชำระและถ้าค้างชำระติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ธนาคารต้องเรียกคืนเงินกู้และลูกค้าถูกดำเนินคดี ส่วนผลกระทบต่อธนาคารในกรณีที่มีหนี้ค้างชำระจะทำให้ต้นทุนในการติดตามหนี้สูงขึ้นและธนาคารต้องตั้งสำรองหนี้ตามอายุของหนี้ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการดำเนินงานของธนาคาร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11630
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
87904.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons