กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11635
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตพลังงานทดแทนจากของเสียในฟาร์มสุกรโดยระบบก๊าชชีวภาพกรณีศึกษาอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The study of possibility for compensating energy produced from waste matter in pig farm using biogas system : the case study of amphur Photharum, Ratchaburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ศักดิ์ ธนวิบูลย์ชัย
กมลทิพย์ ยืนยง, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ลัดดา พิศาลบุตร
คำสำคัญ: พลังงานทดแทน
ก๊าซชีวภาพ
ของเสียจากสัตว์
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนและต้นทุนในการผลิตพลังงานทดแทนจากของเสียในฟาร์มสุกร โดยระบบก๊าซชีวภาพ ในเขตอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าตัวแปรในการตัดสินใจ ผลการวิจัยพบว่า (1) หากกำหนดต้นทุนค่าเสียโอกาสทางสังคม ไว้ที่ร้อยละ 8 ในระบบก๊าซชีวภาพขนาด 50 ลบ.ม.การวิเคราะห์ทางการเงินได้ ค่า NPV เท่ากับ 194,801 บาท และค่า BCR เท่ากับ 2.81 และการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ได้ค่า NPV = 117,974 บาท และค่า BCR = 2.22 และในระบบก๊าซชีวภาพขนาด 100 ลบ.ม.การวิเคราะห์ทางการเงินได้ ค่า NPV เท่ากับ 414,834 บาท และ ค่า BCR เท่ากับ 3.54 และการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ได้ค่า NPV = 281,556 บาท และค่า BCR = 2.90 จากผลดังกล่าวจะเห็นว่าระบบก๊าซชีวภาพทั้งสองขนาดมีความคุ้มค่าน่าลงทุน (2) จากการวิเคราะห์ใน 3 กรณี คือ ก่อนการเปลี่ยนแปลง , ต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และ เมื่อระบบใช้งานได้ 10 ปีใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนเทียบเท่าก๊าซ LPG เดือนละ 3 ถัง ด้วยอัตราคิดลดร้อยละ 8 10 12 และ 14 ตามลำดับ พบว่าระบบก๊าซชีวภาพขนาด 50 ลบ.ม. ได้ค่า FIRR เท่ากับ 53.27, 44.94 และ 31.32 และ ค่า EIRR เท่ากับ 29.69, 24.55 และ 15.15 และในระบบก๊าซชีวภาพขนาด 100 ลบ.ม.ได้ค่า FIRR เท่ากับ 73.48, 62.13 และ 55.23 และ ค่า EIRR เท่ากับ 42.85, 38.82 และ 32.04 จะเห็นว่าผลลัพธ์ค่า FIRR และ EIRR อัตราคิดลดร้อยละ 8 10 12 และ 14 มีค่าเท่ากันในการวิเคราะห์ทั้ง 3 กรณีและมีทิศทางที่ลดลงแต่ยังคงคุ้มค่าต่อการลงทุน แสดงให้เห็นว่าฟาร์มขนาดกลางมีความเป็นไปได้และคุ้มค่าต่อการลงทุนมากกว่าฟาร์มขนาดเล็ก และไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในระบบก๊าซชีวภาพขนาด 50 ลบ.ม. หรือ100 ลบ.ม. ผู้ประกอบการจะมีความเสี่ยงในการลงทุนต่ำ ผู้ประกอบการจึงสมควรตัดสินใจที่จะสร้างระบบก๊าซชีวภาพในฟาร์มเนื่องจากจะทำให้ได้รับประโยชน์จากพลังงานทดแทน และสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11635
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
87916.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons