Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11636
Title: โครงสร้างและพฤติกรรมการแข่งขันของอุตสาหกรรมซุปไก่สกัดในประเทศไทย
Other Titles: Structure and competition behavior of chicken essence industry in Thailand
Authors: ศิริพร สัจจานันท์
ธนภัทร วงษ์วิสิฏฐ์, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อ้อทิพย์ ราษฎร์นิยม
Keywords: การแข่งขันทางการค้า
อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
Issue Date: 2547
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออุตสาหกรรมซุปไก่สกัดในประเทศไทย ทั้งทางด้านราคาและไม่ใช่ทางด้านราคา (2) ศึกษาการกำหนดราคาของ ผลิตภัณฑ์ซุปไก่สกัด ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2545 จากผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าอุตสาหกรรมซุปไก่สกัดในปัจจุบันเป็นลักษณะโครงสร้างตลาดผู้ขาย น้อยรายและมีค่าการกระจุกตัวสูงที่ดัชนี HI เท่ากับ 0.62 - 0.91 ดัชนี CCI เท่ากับ 0.81 - 0.95 คำนวณจากยอดขายปี พ.ศ. 2540 - 2545 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงแสดงให้เห็นว่าการแข่งขันในอุตสาหกรรมซุปไก่สกัดมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการทำรายได้ของอุตสาหกรรมซุปไก่สกัดมีมูลค่าสูง จึงเป็นจุดสนใจให้นักธุรกิจหันมาที่ธุรกิจ นี้มากขึ้น สำหรับพฤติกรรมการแข่งขันทางด้านราคาในอุตสาหกรรมซุปไก่สกัดพบว่ามีลักษณะกำหนดราคาของผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ 2 ลักษณะ คือ การกำหนดราคาโดยคำนึงถึงต้นทุนส่วนเพิ่มและรายรับส่วนเพิ่มและการกำหนดราคาแบบ Rules of Thumb โดยผู้ประกอบการรายย่อยจะกำหนดราคาตามผู้นำราคาของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีเทคโนโลยีในการผลิตสูงกว่าซึ่งมีผลผลิตต่อขนาดที่สูงขึ้น ต้นทุนการผลิตลดลง และเนื่องจากว่าผู้บริโภคมีความเชื่ออยู่กับสินค้าในยี่ห้อเดิม สำหรับกรณีของพฤติกรรมการแข่งขันที่ไม่ใช่ราคาของอุตสาหกรรมซุปไก่สกัดพบว่าในแต่ละผู้ประกอบการพยายามผลิตสินค้าของตนเองให้มีความแตกต่างกันมากขึ้นในส่วนของสี รสชาติ ลักษณะการเปิดฝาที่ง่าย และ ลักษณะการบรรจุของผลิตภัณฑ์ที่เสนอขายต่อผู้บริโภค โดยอาศัยสื่อโฆษณาจากสื่อมวลชน เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วารสาร เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กลยุทธเข้าถึงลูกค้าทุกกลุ่มมากขึ้น โดยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับสังคมในลักษณะเช่นนี้ผู้ผลิตรายใหญ่มีความได้เปรียบในด้านงบประมาณที่มีมากกว่าผู้ผลิตรายเล็กจากการวิจัยครั้งนี้พบได้ว่า พฤติกรรมการแข่งขันทางด้านราคาโดยการกำหนดราคาที่ต่ำกว่านั้นไม่สามารถเพิ่มยอดขายได้มากขึ้นเท่าที่ควร แต่พฤติกรรมการแข่งขันที่ไม่ใช่ราคาจะมีผลกระทบทำให้ยอดขายทางการตลาดเพิ่มขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการไม่น่ามีความจำเป็นมากนัก ในการแข่งขันทางด้านราคา ควรจะมุ่งเน้นพฤติกรรมการแข่งขันไม่ใช่ราคามากกว่า สำหรับการกำหนดราคาควรให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตเพื่อให้สามารถกำหนดราคาได้เหมาะสมและเพื่อความเป็นธรรมต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11636
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
87920.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.63 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons