กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1163
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของสมาชิกองค์กรการเงินชุมชนที่มีต่อการจัดสวัสดิการขององค์กรการเงินชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Satisfaction of members of community financial organizations with the provision of welfare by community financial organizations in Kalasin Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชนีกร โชติชัยสถิตย์
นำใจ อุทรักษ์, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์--วิทยานิพนธ์
สังคมสงเคราะห์
บริการสังคม
ความพอใจ
วันที่เผยแพร่: 2548
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความพึงพอใจของสมาชิกองค์กรการเงินที่ มีต่อการจัดสวัสดิการขององค์กรการเงินชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ (2) ข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปพัฒนาการจัดสวัสดิการขององค์กรการเงินชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ สมาชิกกลุ่มองค์กรการเงินชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ 5 องค์กร ได้แก่ ชมรมผู้ดูแลเด็กอำเภอกุฉินารายณ์ 120 ราย สหกรณ์เครดิตยูเนียนหนองห้างจำกัด 82 ราย ชมรมผู้สูงอายุจังหวัดกาฬสินธุ์ 122 ราย กลุ่มโรงสีข้าวชุมชนหนองแปน อำเภอกมลาไสย 33 ราย และกลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองเหล่าใหญ่ 23 ราย ซึ่งได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบโควตา รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 380 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมสมาชิกของชมรมผู้ดูแลเด็กอำเภอกุฉินารายณ์ มีระดับความพึงพอใจปานกลางต่อการจัดสวัสดิการ โดยมีระดับความพึงพอไจ ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสนับสนุนงบประมาณด้านกีฬาและนันทนาการ ส่วนภาพรวมสมาชิกของสหกรณ์เครดิตยูเนียนหนองห้างมีระดับความพึงพอใจปานกลางคือการจัดสวัสดิการ โดยมีระดับความพึงพอใจค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การช่วยเหลือด้านการฌาปนกิจศพของสมาชิก ภาพรวมของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ มีระดับความพึงพอใจปานกลางต่อการจัดสวัสดิการ โดยมีระดับความพึงพอใจค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การจัดเวทีภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่นเดียวกับภาพรวมสมาชิกของกลุ่มโรงสีข้าวชุมชนหนองแปน มีระดับความพึงพอใจปานกลางต่อการจัดสวัสดิการ โดยมีระดับความพึงพอใจค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การเฉลี่ยเงินคืนสมาชิกในขณะที่ภาพรวมสมาชิกของกลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองเหล่าใหญ่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดต่อการจัดสวัสดิการ โดยมีระดับค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การให้บริการออมทรัพย์แก่สมาชิก สำหรับข้อเสนอแนะที่สมาชิกทั้ง 5 องค์กรต้องการ คือ ควรจัดให้สมาชิกสามารถเข้ารับบริการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (คศ.ม. (การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2548
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1163
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Hum-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext 90423.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons