กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11648
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An analysis of economic cost of influenza patients in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์
วีณา ภักดีสิริวิชัย, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อ้อทิพย์ ราษฎร์นิยม
คำสำคัญ: ไข้หวัดใหญ่--ไทย
ผู้ป่วย--ไทย--ต้นทุนและประสิทธิผล
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่กรณีได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลจำแนกรายกลุ่มอายุ โดยการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน พ.ศ. 2548 ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงแรงงาน และโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดสระแก้ว ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนผู้ป่วยนอกโรคไข้หวัดใหญ่รวม 1,605.97 ล้านบาท เป็นค่ารักษาพยาบาล 697.93 ล้านบาท ค่าเดินทาง 106.35 ล้านบาท และ ต้นทุนทางอ้อม 801.68 ล้านบาท ทั้งนี้ ต้นทุนสูงสุดในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ต้นทุนผู้ป่วยนอกเฉลี่ยต่อหน่วยบริการ 1,134.64 บาท เป็นค่ารักษาพยาบาล 493.10 บาท ค่าเดินทาง 75.14 บาท และ ต้นทุนทางอ้อม 566.40 บาท สำหรับต้นทุนผู้ป่วยในรวม 642.07 ล้านบาท เป็นค่ารักษาพยาบาล 587.63 ล้านบาท ค่าเดินทาง 10.24 ล้านบาท และ ต้นทุนทางอ้อม 44.19 ล้านบาท ต้นทุนสูงสุดในกลุ่มผู้มีอายุ 75 ปีขึ้นไป และ มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน ต้นทุนผู้ป่วยในเฉลี่ยต่อหน่วยบริการ 18,828.86 บาท เป็นค่ารักษาพยาบาล 17,232.29 บาท ค่าเดินทาง 300.57 บาท และ ต้นทุนทางอ้อม 1,296 บาท ซึ่งจากการวิเคราะห์ต้นทุนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่พบว่า ในกรณีผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเมื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่แล้วสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ทุกกลุ่มอายุ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11648
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
100884.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons