กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11649
ชื่อเรื่อง: | การประเมินความสูญเสียทางรายได้จากปัญหาความไม่สงบ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The evaluation of income foregone from the violence in the Three Southern Border Provinces of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พอพันธ์ อุยยานนท์ เสิมศักดิ์ แก้วฉาย, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์ |
คำสำคัญ: | ความขัดแย้งทางการเมือง--แง่เศรษฐกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบ และประเมินค่าความสูญเสียทางรายได้เนื่องจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รุนแรงขึ้นอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. 2547 ครอบคลุมภาคการผลิตสำคัญต่างๆ ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้อมูลในปี พ.ศ. 2545-2548 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ และการวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลกระทบวิเคราะห์จากรูปแบบอัตราร้อยละของแนวโน้ม และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายประเมินค่าความสูญเสียทางรายได้วิเคราะห์จากค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นจากมูลค่ารายได้ที่สูญเสียของผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และอพยพจากเหตุการณ์ฯ ผลการประเมินความสูญเสียทางรายได้ วัดมูลค่ารายได้ที่สูญเสียของผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต 1,510 คน ผู้บาดเจ็บ 2,617 คน คิดมูลค่ารายได้ที่สูญเสียจำนวน 1,151.6 ล้านบาท ยังไม่รวมความสูญเสียทางอ้อมด้านอื่นๆ คิดเป็นประมาณร้อยละ 2.5 ของผลิตภัณฑ์มวลที่แท้จริง (ประมาณ 46,000 .- ล้านบาท) จากการวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายพบว่า มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลที่แท้จริงมีความสัมพันธ์สูงในทิศทางเดียวกันกับภาคบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ (r = 0.98) ภาคการขนส่งสื่อสาร (r = 0.87) ภาคการก่อสร้าง (r =0.86) และมีความสัมพันธ์สูงในทิศทางตรงข้ามกับภาคบริการโรงแรมและภัตตาคาร (r =- 0.82) ภาคอุตสาหกรรม (r =- 0.87) |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11649 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
100885.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.47 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License