กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11655
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจการผลิตและการตลาดของกล้วยอบเนยและกล้วยกวนในจังหวัดสุโขทัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An economic analysis of production and marketing of banana chip and banana paste in Sukhothai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จรินทร์ เทศวานิช
วิภาวรรณ ดวนมีสุข, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์
คำสำคัญ: กล้วยอบเนย--ไทย--สุโขทัย--การตลาด
กล้วยอบเนย--ไทย--สุโขทัย--การผลิต
กล้วยกวน--ไทย--สุโขทัย--การผลิต
กล้วยกวน--ไทย--สุโขทัย--การตลาด
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงกระบวนการผลิต ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยอบเนยและกล้วยกวน (2) ศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงานระหว่างผู้ประกอบการที่มีการรวมตัวเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและผู้ประกอบการอิสระ (3) เพื่อศึกษาภาวะการตลาดของกล้วยอบเนยและกล้วยกวน ผลการศึกษาพบว่า (1) ต้นทุนการแปรรูปกล้วยกวนสูงกว่ากล้วยอบเนย และต้นทุนการแปรรูปของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสูงกว่าผู้ประกอบการอิสระ โดยต้นทุนการแปรรูปกล้วยกวนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.20 บาท และของผู้ประกอบการอิสระเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.51 บาท ต้นทุนการแปรรูปกล้วยอบเนยของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.30 บาท และของผู้ประกอบการอิสระเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.52 บาท (2) ผลตอบแทนจากการแปรรูปกล้วยอบเนยสูงกว่ากล้วยกวนโดยผู้ประกอบการแปรรูปกล้วยอบเนยมีกำไรเฉลี่ยวันละ 900 บาท ส่วนผู้ประกอบการแปรรูปกล้วยกวนมีกำไรเฉลี่ยวันละ 550 บาท (3) ภาวะการตลาดของกล้วยกวนและกล้วยอบเนย ผู้ประกอบการนิยมขายส่งมากกว่าขายปลีกเนื่องจากขายได้รวดเร็วและปริมาณมาก ผลผลิตส่วนใหญ่จำหน่ายให้ร้านขายของฝาก และ พ่อค้าคนกลาง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11655
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
101794.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons