Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1166
Title: ความเชื่อเกี่ยวกับขนมเซ่นไหว้ที่ใช้ในงานบุญเดือนสิบของจังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: Beliefs about sweets used as offerings during the Tenth Month religious ceremony in Nakhon Si Thammarat Province
Authors: สรายุทธ ยหะกร
สกลวิฑูร์ มีเพียร, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุดจิต เจนนพกาญจน์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์
ความเชื่อ--ไทย
วัฒนธรรมไทย
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: งานวิจัยคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติและความเป็นมาของขนมเซ่นไหว้ที่ใช้ในงานบุญเดือนสิบของจังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ความเชื่อเกี่ยวกับขนมเซ่นไหว้ที่ใช้ในงานบุญเดือนสิบของจังหวดนครศรีธรรมราช (3) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงขนมเซ่นไหว้ที่ใช้ในงานบุญเดือนสิบของจงหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารการสังเกตุแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก 35 คน ได้แก่ ผู้รู้จํานวน 10 คน ผู้นําชุมชน จํานวน 5 คน นักวิชาการจํานวน 5 คน และชาวนครศรีธรรมราช จํานวน 15 คน ซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่วงวัย คือวัยรุ่นอาย 15-20 ปีจํานวน 5 คน วัยผู้ใหญ่ อายุ 36-59 ปีจํานวน 5 คน ผู้สูงอายุอายุ 60 ปี ขึ้นไป จํานวน 5 คน การ วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ประวัติของงานบุญเดือนสิบของจังหวัดนครศรีธรรมราช จากเอกสารสันนิษฐานว่า เป็นประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียกับประเพณีอื่นอีกหลายประเพณีการทําบุญเดือนสิบมี 2 คร้ังคือในวัน แรม 1 คํ่าเดือนสิบ และวันแรม 15 คํ่าเดือนสิบ จัดขึ้นคร้ังแรกเมื่อ พ.ศ. 2466 ส่วนความเป็นมาของขนมเซ่นไหว้ที่ใช้ในงานบุญเดือนสิบไม่ปรากฏเอกสารที่ชัดเจน (2) ความเชื่อเกี่ยวกับขนมเซ่นไหว้เป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลโดยการจดหุมฺรับ (อ่านว่าหมบเป็นภาษาถิ่นใต้แปลว่า สํารับ) ประกอบด้วยอาหาร พืชผักผลไม้และขนมสำคัญ 5-6 อย่างได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ขนมกง (ขนมไข่ปลา) ขนมดีซํ้า ขนมบ้าและขนมลาลอยมัน (ขนมรังนก) เพื่ออุทิศส่วน กุศลให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วได้นําไปใช้แทนสิ่งต่างๆ ในปรโลก (3) สําหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงโดยการนำขนมเซ่นไหว้อื่นๆ มาใช้แทน เช่น ขนมพิมพ์ ขนมขี้ขาว ขนมจูจุล ขนมไข่ ทองหยิบ ฝอยทอง ฯลฯ รวมทั้งมีการจัดพืชผักผลไม้อาหารกระป๋อง จากต่างประเทศร่วมด้วยและพบการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น ครอบครัวกลุ่มสังคมและสหจร ซึ่งมีปัจจัยภายในและภายนอกที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านอาชีพ รายได้ทุนตลาด การสื่อสารและเทคโนโลยีส่วนปัจจัยทางวัฒนธรรมที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อการหลงไหลของวัฒนธรรมต่างชาติและการลอกเลียนแบบ
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1166
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (5).pdfเอกสารฉบับเต็ม19.32 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons