กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11669
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเพชรบุรี ระหว่างวิธีการจัดเก็บข้อมูลทางตรงและทางอ้อม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A comparative analysis of the compilation of gross provincial product of Phetchaburi province between the top down and bottom up methods |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มนูญ โต๊ะยามา ภิญพรรณ สาครศิริ, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุริยา จันทรกระจ่าง |
คำสำคัญ: | ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปและปัญหาในการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเพชรบุรี ทั้งวิธีการจัดเก็บข้อมูลทางตรงและทางอ้อม 2) วิเคราะห์เปรียบเทียบมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของ จังหวัดเพชรบุรีที่ได้จากวิธีการจัดเก็บข้อมูลทางตรงและทางอ้อม 3) วิเคราะห์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเพชรบุรีแต่ละสาขาการผลิตทางด้านโครงสร้าง อัตราการเติบโต และดัชนีราคาระหว่างข้อมูลที่ได้จากการจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัดวิธีทางตรงและทางอ้อม และ 4) วิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมาะสมของข้อมูลที่ได้จากการคำนวณทั้งวิธีทางตรงและทางอ้อมสำหรับใช้ในการวางระบบข้อมูลเศรษฐกิจของจังหวัดเพื่อการวางแผนด้านเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบุรี ผลการศึกษาพบว่า 1) การจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเพชรบุรีเป็นไปตามกรอบแนวคิดของระบบบัญชีประชาชาติที่สามารถจัดทำได้สองวิธีจากวิธีการจัดทำข้อมูลที่แตกต่างกัน ปัญหาของการจัดทำวิธีทางตรง ได้แก่ ปัญหาด้านข้อมูล บุคลากร การบริหารจัดการ และงบประมาณ ส่วนปัญหาที่พบจากวิธีทางอ้อม ได้แก่ ปัญหาด้านข้อมูล และบุคลากร 2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดที่ได้จากวิธีทางตรงมีมูลค่าต่ำกว่าที่ได้จากวิธีทางอ้อมจำนวน 12 สาขาการผลิต และสูงกว่าวิธีทางอ้อมจำนวน 4 สาขาการผลิต 3) ความสัมพันธ์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดที่คำนวณจาก 2 วิธี มีโครงสร้างเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 5 สาขาการผลิต แตกต่างกัน 11 สาขาการผลิต อัตราการเติบโตเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 5 สาขาการผลิต แตกต่างกัน 11 สาขาการผลิต และดัชนีราคาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 3 สาขาการผลิต แตกต่างกัน 13 สาขาการผลิต 4) การใช้ BCG Matrix วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากวิธีทางตรงสามารถทำได้ดีกว่าวิธีทางอ้อม เพราะข้อมูลที่ได้จากวิธีทางตรงมีความละเอียดและครอบคลุมกิจกรรมต่างๆได้มากกว่า |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11669 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
110182.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.58 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License