Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11672
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorณัฐพร สิริลัพธ์, 2519--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-03-01T07:56:03Z-
dc.date.available2024-03-01T07:56:03Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11672-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551th_TH
dc.description.abstractผักอินทรีย์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยจากสารเคมีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันพบว่าตลาดผักอินทรีย์ในประเทศไทยยังเป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีรายได้สูงและใส่ใจในสุขภาพ เนื่องจากผักอินทรีย์มีต้นทุนการผลิตสูง ราคาของผักอินทรีย์จึงสูงกว่าราคาของผักที่ได้รับสารเคมี การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายส่วนต่างราคาสูงสุดระหว่างสินค้าผักอินทรีย์เปรียบเทียบกับผักที่ได้รับสารเคมีของผู้บริโภคในกรุงเทพฯ (2) ศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความเต็มใจที่จะจ่ายการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายส่วนต่างราคาสูงสุดระหว่างสินค้าผักอินทรีย์เปรียบเทียบกับผักที่ได้รับสารเคมีของผู้บริโภคในกรุงเทพฯ (2)ศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความเต็มใจที่จะจ่าย ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริโภคที่ซื้อผักในซุปเปอร์มาร์เก็ตทั้งสองระดับ มีความเต็มใจที่จะจ่ายส่วนต่างราคาสูงสุดของสินค้าผักอินทรีย์สามชนิด (ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง และถั่วฝักยาว) เปรียบเทียบกับผักที่ได้รับสารเคมี เท่ากับ 68.64 บาทต่อกิโลกรัม (2) ในกรณีแยกวิเคราะห์ค่าความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้บริโภคที่ซื้อผักในซุปเปอร์มาร์เก็ตแต่ละระดับ พบว่า ผู้ที่ซื้อผักในซุปเปอร์มาร์เก็ตระดับบนมีความเต็มใจที่จะจ่ายส่วนต่างราคาสูงสุด เท่ากับ 73.93 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนผู้ที่ซื้อผักในซุปเปอร์มาร์เก็ตระดับกลางมีความเต็มใจที่จะจ่ายส่วนต่างราคาสูงสุด เท่ากับ 64.40 บาทต่อกิโลกรัม โดยปัจจัยด้านเศรษฐกิจ - สังคมที่มีอิทธิพลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ สถานที่ซื้อผัก รายได้ครัวเรือน อายุ จำนวนบุตร ระดับการศึกษา และ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน นอกจากนี้ยังพบว่า อุปสงค์ต่อสินค้าผักอินทรีย์ของผู้บริโภคที่ซื้อผักในซุปเปอร์มาร์เก็ตค่อนข้างดี และส่วนต่างของราคาที่ผู้บริโภคเต็มใจที่จะจ่ายน่าจะเป็นแรงจูงใจเพื่อการขยายการผลิตเนื่องจากราคาตลาดของผักอินทรีย์ที่สูงกว่าผักที่ผลิตโดยกระบวนการปกติจะทำให้ได้กำไรสุทธิสูงแม้ว่าต้นทุนการผลิตจะเพิ่มขึ้นอีกทั้งความเสี่ยงการตลาดก็จะลดลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดระดับกลางและระดับบนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectสินค้าเกษตร--ราคาth_TH
dc.subjectผักอินทรีย์--ราคาth_TH
dc.titleความเต็มใจที่จะจ่ายสำหรับสินค้าผักอินทรีย์เปรียบเทียบกับผักที่ได้รับสารเคมีth_TH
dc.title.alternativeWillingness to pay for organic vegetables as compared with chemical vegetablesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
110200.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons