กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11674
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เปรียบเทียบระหว่างประเทศไทย-สาธารณรัฐประชาชนจีน-ญี่ปุ่น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | An analysis the competitiveness capability of the motoreycle industry in Thailand, a comparative study between Thailand -the Republic of China and Japan |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุภาสินี ตันติศรีสุข ประดี จิรภิวงศ์, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศิริพร สัจจานันท์ |
คำสำคัญ: | ความสามารถในการแข่งขัน อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์--ไทย อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์--จีน อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์--ญีปุ่น |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการผลิต การจำหน่ายและการส่งออกของอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ของประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เปรียบเทียบระหว่างประเทศไทย - สาธารณรัฐประชาชนจีน - ญี่ปุ่น (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ของประเทศไทย (4) เพื่อศึกษาศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า (1) ประเทศไทยผลิตรถจักรยานยนต์ได้เฉลี่ยปีละ 1,633,326 คันจำหน่ายในประเทศได้เฉลี่ยปีละ 1,321,288 คันหรือร้อยละ 80.9 ส่งออกเฉลี่ยปีละ 312,038 คันหรือร้อยละ 19.1 (2) ญี่ปุ่นมีความได้เปรียบมากที่สุดในการเปรียบเทียบทั้งสามประเทศ ส่วนไทยมีความได้เปรียบรองจากประเทศญี่ปุ่น และสาธารณะรัฐประชาชนจีนมีความได้เปรียบเป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งการแข่งขันรถจักรยานยนต์ส่งออก ไทยมีค่า RCA > 1 ในตลาดโลก สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีนมีค่า RCA > 1 ในตลาดเยอรมนีมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ส่วนญี่ปุ่นมีค่า RCA > 1 ในทุกตลาดยกเว้นตลาดมาเลเซีย และอินโดนีเซีย การแข่งขันชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ส่งออก ไทยมีค่า RCA > 1 ในตลาดโลก อิตาลี มาเลเซีย และอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีนมีค่า RCA > 1 ในตลาดอิตาลี และอินโดนีเซีย ส่วนญี่ปุ่นมีค่า RCA > 1 ในตลาดคู่ค้าสำคัญทุกตลาดยกเว้นตลาดโลก (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกของรถจักรยานยนต์ของไทยเป็นผลมาจากความสามารถในการแข่งขันเป็นลำดับแรก รองลงมาคือ การขยายตัวของการค้าโลก การกระจายตลาด และส่วนประกอบของสินค้าตามลำดับ (4) ศักยภาพการแข่งขันของรถจักรยานยนต์ของไทยภายในประเทศพบว่าผู้ประกอบการรายใหม่ ผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้ซื้อ ผลิตภัณฑ์ทดแทนและการแข่งขันที่รุนแรง ต่างส่งผลให้การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ได้มากยิ่งขึ้น ส่วนการแข่งขันรถจักรยานยนต์ของไทยในต่างประเทศพบว่าปัจจัยการผลิตอุปสงค์ต่อธุรกิจ อุตสาหกรรมสนับสนุน กลยุทธ์ทางธุรกิจ นโยบายรัฐบาล และเหตุสุดวิสัย ต่างส่งผลดีต่อศักยภาพการแข่งขันการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยไปยังต่างประเทศ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11674 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
112232.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License