กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11677
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการที่อยู่อาศัยและลักษณะพฤติกรรมการเลือกซื้อบ้านในจังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An analysis of factors affecting housing demand and buying in Phuket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาสินี ตันติศรีสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
นพพร โทณะวณิก, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิทยุทธ แก้วติดกาย, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: บ้าน--การจัดซื้อ
ที่อยู่อาศัย--ไทย--ภูเก็ต
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์ที่อยู่อาศัยในอำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ต 2) ศึกษาความยืดหยุ่นของอุปสงค์ที่อยู่อาศัยในจังหวัดภูเก็ต 3) ศึกษาลักษณะพฤติกรรมการเลือกซื้อบ้านในจังหวัดภูเก็ต และ4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของอุปสงค์ที่อยู่อาศัยในอำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ต ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์ที่อยู่อาศัยในจังหวัดภูเก็ต คือ ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย จำนวนประชากร และปริมาณสินเชื่อในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย และจำนวนประชากร มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับปริมาณการซื้อบ้านในจังหวัดภูเก็ตที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แห่งการกำหนด (R*) เท่ากับ 0.99 สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและจำนวนประชากรมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนดัชนีราคาที่อยู่อาศัยไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2) ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาที่อยู่อาศัยมีค่าเท่ากับ 221,44 จะเห็นว่าอุปสงค์ต่อราคามีความยืดหยุ่นมาก การเปลี่ยนแปลงราคาจึงมีผลต่อความต้องการที่อยู่อาศัยมากตามไปด้วย ความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อจำนวนประชากรมีค่า = 0.482 และความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อปริมาณสินเชื่อมีค่าเท่ากับ 0.000000226 3) การเลือกซื้อบ้านในจังหวัดภูเก็ต พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการบ้านเดี่ยว วัตถุประสงค์ส่วนใหญ่เนื่องจากต้องการมีบ้านเป็นของตนเอง ผู้ที่มีอุปสงค์ต่อที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มักจะเป็นคนต่างจังหวัด เพราะเข้ามาอยู่อาศัยในจังหวัดภูเก็ตโดยมากมักจะเช่าบ้านอยู่จึงทำให้อยากมีบ้านเป็นของตนเองมากกว่าต้องเช่าบ้าน โดยส่วนมากมักมีโครงการเพื่อจะซื้อบ้านในอีก 3-4 ปีข้างหน้าราคาที่อยู่อาศัยที่ผู้บริโภคมีความต้องการมากที่สุดคือราคาที่อยู่ระหว่าง 1-2 ล้านบาท และระยะเวลาที่ผู้บริโภคส่วนมากเห็นว่าเหมาะสมในการผ่อนชำระที่สุดคือ 21-30 ปี โดยอัตราการผ่อนชำระที่ผู้บริโภคคิดว่ามีความเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุดคือ ต่ำกว่า10,000บาท 4) ปัญหาของผู้ต้องการซื้อบ้านคือความกังวลเรื่องคุณภาพบ้านที่จะซื้อ ความเหมาะสมของราคาที่ตั้งไว้ว่าเหมาะสมหรือไม่ อุปสรรคของการซื้อบ้านคือการขออนุมัติเงินกู้เพื่อซื้อบ้านจากธนาคาร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11677
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
114888.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons