กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11686
ชื่อเรื่อง: | ความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการอนุรักษ์เห็ดโคน : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองกาญจนบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Willingness to pay for termites mushroom conservation : a case study in Kanchanaburi Municipality |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์ วัฒนา บุญญรักษ์ธัญญา, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อุดมศักดิ์ ศีลประชาวงศ์ |
คำสำคัญ: | เห็ดโคน การอนุรักษ์ป่าไม้--ไทย--กาญจนบุรี |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (I) ประเมินมูลค่าเศรษฐกิจของเห็ดโคน (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อการอนุรักษ์ป่าซึ่งเป็นแหล่งที่พบเห็ดโคน ผลการศึกษาพบว่าหากมีการลงคะแนนเพื่อสนับสนุนโครงการแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่จะสนับสนุนโครงการถ้ากำหนดให้จ่ายเงินจำนวน 10 บาท และเมื่อคูณกับจำนวนครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรีจะมีมูลค่าที่สามารถระดมทุนได้เท่ากับ 141,190 บาท ในขณะที่ผลการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิต พบว่ามูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเฉลี่ยที่คำนวณโดยวิธีพาราเมตริกซ์มีค่าเท่ากับ 424 บาท/ครัวเรือน หรือมีค่าความเต็มใจที่จะจ่ายรวมของประชากรในพื้นที่เท่ากับ 5.99 ล้านบาท โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายมี 2 ปัจจัย คือ รายได้ครัวเรือน และ Bid Price โดยที่ทั้งสองปัจจัยต่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99% และมีค่าสัมประสิทธิ์เป็นไปตามที่คาดหวัง กล่าวคือ ค่าสัมประสิทธิ์ตัวแปรรายได้มีค่าเป็นบวกแสดงให้เห็นว่าความเป็นไปได้ในการสนับสนุนโครงการจะมีค่าสูงขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ Bid Price มีค่าสัมประสิทธิ์เป็นลบ ซึ่งยืนยันได้ว่าถ้า Bid Price มีค่าสูงขึ้น ความเป็นไปได้ที่จะสนับสนุนจะมีค่าลดลง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11686 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
118362.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.52 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License