Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11695
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพอพันธ์ อุยยานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวิชญะ นาครักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนิวัฒน์ สาระขันธ์, 2511--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-03-08T07:09:18Z-
dc.date.available2024-03-08T07:09:18Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11695-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาบริบทของชุมชนในหมู่บ้านสันติสุข ตำบลนาโส่อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร 2) สังเคราะห์รูปแบบการก่อตั้งและคงอยู่ของระบบเงินตราชุมชน บุญกุดชุมเพื่อใช้แก้ปัญหาของชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนหมู่บ้านสันติสุข เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กมีชาวบ้านอยู่อาศัยรวมกันทั้งหมด 48 ครอบครัว ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเช่นการทำนา ทำไร่ และเลี้ยงสัตว์ 2) รูปแบบการก่อตั้งระบบเงินตราชุมชนบุญกุดชุม เกิดจากปัจจัย 2 ประการคือ สภาพปัญหาที่เกิดจากบริบทชุมชนชาวตำบลนาโส่ที่เป็นชุมชนเกษตรกรรมที่ตอบสนองระบบทุนนิยมทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตเช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาหนี้สิน ปัญหาความแห้งแล้ง ปัญหาการเอาเปรียบของพ่อค้าคนกลาง ปัญหาปัญหายาเสพติด ปัญหาสิ่งแวดล้อมและ ปัญหาความขัดแย้งในชุมชน และปัจจัยเกื้อหนุนเช่น ความเข้มแข็งของชุมชน ความสามัคคีของชาวบ้านในชุมชน การมีผู้นำที่เข้มแข็งมีวิสัยทัศน์การเปิดกว้างรับนวัตกรรม การรวมกลุ่มกันของชาวบ้าน การสนับสนุนขององค์กรเอกชนและรัฐบาลและการสื่อสารของอาสาสมัครต่างชาติ ปัจจัยที่เอื้อต่อการคงอยู่ของระบบเงินตราชุมชนของบุญกุดชุม ได้แก่ 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายนอกซึ่งประกอบด้วย การสนับสนุนขององค์กรเอกชน การสื่อสารจากสังคมทำให้ได้รับความสนใจ นักวิชาการจากนอกชุมชนให้การสนับสนุนและหน่วยงานของรัฐใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และปัจจัยภายในซึ่งได้แก่ ประโยชน์ส่วนบุคคล ความสามัคคีในชุมชน ความเข้มแข็งของผู้นำ การรวมกลุ่มเครือข่ายและสภาพสังคมในชุมชนที่เป็นสังคมชนบททำให้มีความใกล้ชิดกัน นอกจากนี้การที่ชาวชุมชนตำบลนาโส่นำระบบเงินตราชุมชนบุญกุดชุม มาใช้ทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆ เช่น การรวมกลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ชมรมหมอยาพื้นบ้าน โรงสีปลอดสารพิษและชมรมรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งทำให้ชาวชุมชนหมู่บ้านสันติสุขมีความเป็นอยู่ดีขึ้นสามารถแก้ปัญหาความยากจนปัญหาหนี้สินและ ปัญหาสุขภาพของประชาชนได้เป็นอย่างดีth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectชุมชนบุญกุดชม--การเงินth_TH
dc.subjectชุมชน--แง่เศรษฐกิจth_TH
dc.titleรูปแบบการจัดตั้งและการคงอยู่ของระบบเงินตราชุมชน : กรณีศึกษาบุญกุดชุมth_TH
dc.title.alternativeA creation and existence of community currency system : a case study of Boon Kudchumen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to (1) study the community context of Santisook village in the Na-so subdistrict of the Kud Chum district in the Yasothon province; (2) investigate a model of an establishment and maintenance of the community currency system (CCS) : Boon Kudchum for solving the community problems. This was a quality research using 2 methods of gathering data: a focus group and an in-depth interview with key informants. There were 289 informants who were selected by a simple random sampling method. Research findings revealed as follows : 1) Santisook village was a small community which consisted of 48 households. Their main income related to agriculture such as planting crops and doing the farm; 2) crucial 2 factors supporting establishment of Boon Kud Chum were: First, the problems caused by capitalism through globalization such as the poverty problem, the debt problem, the drought problem, being taken advantage of by the middleman, the drug problem, the environment problem, and the conflict in the community; Second, the supporting factors, which were the community’s strength, the community’s solidarity, the vision of leaders, an adoption of the innovation, the network, the support of the NGOs and the government organization and communication of the foreign volunteer. 3) crucial 2 factors supporting an existence of community currency system Boon Kud Chum were: First, external factors such as the support of the NGOs, the communication to outside, the support from the outsider academics’and the government use as the learning resource; second, the internal factors which were the personal advantage, the community’s solidarity, the leader’s strength, the network and the context of community that created the close relationship. Furthermore, an adoption of the currency community system(CCS) gained more benefit and formed other economic activities and social networks such as the organic producer group, the Thai herb group, the toxin-free rice mills and the natural conservation group. These helped them not only solve debt and poverty problems, but also have good health.en_US
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
120930.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.37 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons