กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11695
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการจัดตั้งและการคงอยู่ของระบบเงินตราชุมชน : กรณีศึกษาบุญกุดชุม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A creation and existence of community currency system : a case study of Boon Kudchum
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พอพันธ์ อุยยานนท์
นิวัฒน์ สาระขันธ์, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วิชญะ นาครักษ์
คำสำคัญ: ชุมชนบุญกุดชม--การเงิน
ชุมชน--แง่เศรษฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาบริบทของชุมชนในหมู่บ้านสันติสุข ตำบลนาโส่อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร 2) สังเคราะห์รูปแบบการก่อตั้งและคงอยู่ของระบบเงินตราชุมชน บุญกุดชุมเพื่อใช้แก้ปัญหาของชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนหมู่บ้านสันติสุข เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กมีชาวบ้านอยู่อาศัยรวมกันทั้งหมด 48 ครอบครัว ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเช่นการทำนา ทำไร่ และเลี้ยงสัตว์ 2) รูปแบบการก่อตั้งระบบเงินตราชุมชนบุญกุดชุม เกิดจากปัจจัย 2 ประการคือ สภาพปัญหาที่เกิดจากบริบทชุมชนชาวตำบลนาโส่ที่เป็นชุมชนเกษตรกรรมที่ตอบสนองระบบทุนนิยมทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตเช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาหนี้สิน ปัญหาความแห้งแล้ง ปัญหาการเอาเปรียบของพ่อค้าคนกลาง ปัญหาปัญหายาเสพติด ปัญหาสิ่งแวดล้อมและ ปัญหาความขัดแย้งในชุมชน และปัจจัยเกื้อหนุนเช่น ความเข้มแข็งของชุมชน ความสามัคคีของชาวบ้านในชุมชน การมีผู้นำที่เข้มแข็งมีวิสัยทัศน์การเปิดกว้างรับนวัตกรรม การรวมกลุ่มกันของชาวบ้าน การสนับสนุนขององค์กรเอกชนและรัฐบาลและการสื่อสารของอาสาสมัครต่างชาติ ปัจจัยที่เอื้อต่อการคงอยู่ของระบบเงินตราชุมชนของบุญกุดชุม ได้แก่ 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายนอกซึ่งประกอบด้วย การสนับสนุนขององค์กรเอกชน การสื่อสารจากสังคมทำให้ได้รับความสนใจ นักวิชาการจากนอกชุมชนให้การสนับสนุนและหน่วยงานของรัฐใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และปัจจัยภายในซึ่งได้แก่ ประโยชน์ส่วนบุคคล ความสามัคคีในชุมชน ความเข้มแข็งของผู้นำ การรวมกลุ่มเครือข่ายและสภาพสังคมในชุมชนที่เป็นสังคมชนบททำให้มีความใกล้ชิดกัน นอกจากนี้การที่ชาวชุมชนตำบลนาโส่นำระบบเงินตราชุมชนบุญกุดชุม มาใช้ทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆ เช่น การรวมกลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ชมรมหมอยาพื้นบ้าน โรงสีปลอดสารพิษและชมรมรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งทำให้ชาวชุมชนหมู่บ้านสันติสุขมีความเป็นอยู่ดีขึ้นสามารถแก้ปัญหาความยากจนปัญหาหนี้สินและ ปัญหาสุขภาพของประชาชนได้เป็นอย่างดี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11695
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
120930.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons