กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11696
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างการออมของสหกรณ์การเกษตรกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการให้สินเชื่อของสหกรณ์การเกษตร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between the saving of cooperative agriculture and gross domestic product and factors affecting quantity credit of cooperative agriculture
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาสินี ตันติศรีสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดา พิศาลบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
กานต์ภูมิเดช นิจเนตร, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: สหกรณ์การเกษตร--การออม
สหกรณ์การเกษตร--สินเชื่อ
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ความสัมพันธ์ระหว่างการออมของสหกรณ์การเกษตรกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการออมของสหกรณ์การเกษตร 3) ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการให้สินเชื่อของสหกรณ์การเกษตรทั้ง 4 สาขาเศรษฐกิจที่สำคัญ คือสาขาการเกษตรฯสาขาการค้าส่งและค้าปลีกฯ สาขาอสังหาริมทรัพย์ฯ และสาขาสถาบันการเงิน ผลการศึกษาพบว่า 1) ปริมาณการออมของสหกรณ์การเกษตรมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ กล่าวคือ เมื่อปริมาณการออมของสหกรณ์การเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.207 2) ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการออมของสหกรณ์การเกษตรมากที่สุด คือ ปริมาณการถือหุ้นของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร รองลงมาคืออัตราดอกเบี้ยเงินรับฝากปริมาณเงินรับฝากจากสมาชิกสหกรณ์การเกษตร และปริมาณเงินกู้จากแหล่งเงินทุนภายนอก ตามลำดับ ซึ่งมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับปริมาณการออมของสหกรณ์การเกษตร กล่าวคือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินรับฝากปริมาณเงินรับฝาก ปริมาณการถือหุ้นของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร และปริมาณเงินกู้จากแหล่งเงินทุนภายนอกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะทำให้ปริมาณเงินออมของสหกรณ์การเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.755 , 0.458 , 0.893 และ 0.126 ตามลำดับ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการให้สินเชื่อของสหกรณ์การเกษตรทั้ง 4 สาขาเศรษฐกิจมากที่สุด คือ ปริมาณการถือหุ้นของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร รองลงมาคืออัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้กับสมาชิก ปริมาณเงินรับฝากจากสมาชิกสหกรณ์การเกษตร ปริมาณเงินกู้จากแหล่งเงินทุนภายนอก และจำนวนสมาชิกสหกรณ์การเกษตรตามลำดับ ซึ่งมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับปริมาณการให้สินเชื่อ กล่าวคือ เมื่อจำนวนสมาชิกสหกรณ์การเกษตร ปริมาณเงินฝากจากสมาชิก ปริมาณการถือหุ้นจากสมาชิกสหกรณ์การเกษตร และปริมาณเงินกู้จากแหล่งเงินทุนภายนอกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะทำให้ปริมาณการให้สินเชื่อของสหกรณ์การเกษตรใน 4 สาขาเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.66 , 0.89 , 2.996 และ 0.75 ตามลำดับ ยกเว้นอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณการให้สินเชื่อ กล่าวคือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้กับสมาชิกสหกรณ์การเกษตรลดลงร้อยละ 1 จะทำให้ปริมาณการให้สินเชื่อสหกรณ์การเกษตรใน 4 สาขาเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.875 4) ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการให้สินเชื่อในสาขาการเกษตร สาขาค้าส่งและค้าปลีก สาขาอสังหาริมทรัพย์และสาขาสถาบันการเงินพบว่าปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดทั้ง 4 สาขา คือปริมาณการถือหุ้นจากสมาชิกสหกรณ์ รองลงมาคืออัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้กับสมาชิกสหกรณ์การเกษตร ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11696
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
122091.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons