กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11699
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพและความเป็นธรรมของการคลังสาธารณสุข : กรณีศึกษาการเปรียบเทียบค่ารักษาพยาบาลรายกลุ่มสิทธิรักษาพยาบาลกับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับแล้วของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมของโรงพยาบาลสมุทรสาคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Efficiency and fairness of health financing : a case study comparing medical charge between health benefit scheme and adjusted relative weight of diagnosis related group at Samut Sakhon Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชาดา ตั้งทางธรรม
วิทยา ศรีทองคำ, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ศรัณญา เบญจกุล
คำสำคัญ: การคลังสาธารณะ--ไทย
ค่ารักษาพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ประสิทธิภาพและความเป็นธรรมของการจัดสรรทรัพยากรตามค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับแล้วของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมผู้ป่วยในโรงพยาบาลสมุทรสาคร และ 2) หาปัจจัยที่มีผลต่อค่ารักษาพยาบาลตามค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับแล้วในแต่ละกลุ่มสิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยในโรงพยาบาลสมุทรสาคร ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มที่ 1 และ 2 ทั้งกรณีผ่าตัดและไม่ผ่าตัดพบความแตกต่างของค่ารักษาพยาบาลระหว่างกลุ่มสิทธิการรักษาพยาบาลที่สามารถเรียงลำดับประสิทธิภาพโดยเปรียบเทียบ และความเป็นธรรมตามแนวราบและตามแนวดิ่งได้แตกต่างกันไป ส่วนใหญ่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นกลุ่มสิทธิที่มีระดับประสิทธิภาพสูง กลุ่มสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและต่างชาติจะเป็นกลุ่มที่ด้อยประสิทธิภาพกว่าด้านความเป็นธรรมพบความเป็นธรรมแนวราบและแนวดิ่งบางส่วน สำหรับ กลุ่มที่ 3-6 กรณีไม่ผ่าตัดจะไม่พบความแตกต่างของค่ารักษาพยาบาลและกลุ่มสิทธิการรักษาพยาบาลต่างๆ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05แสดงว่ามีระดับประสิทธิภาพในการผลิตเท่ากัน และมีความเป็นธรรมตามแนวราบ ส่วนกรณีผ่าตัดเฉพาะ กลุ่มที่ 4 ที่ไม่พบความแตกต่าง 2) ตัวแปรที่มีนัยสำคัญต่อการอธิบายค่ารักษาได้ในหลายสมการ คือ วันนอนโรงพยาบาล และค่ายาส่วนค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับแล้วของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมสามารถอธิบายค่ารักษาพยาบาลได้ดี ในกลุ่มที่มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์น้อยๆ ผลการวิจัยสรุปว่า ประสิทธิภาพความเป็นธรรมของการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในระหว่างกลุ่มสิทธิการรักษาพยาบาลต่างๆ สามารถประเมินได้จากสัดส่วนระหว่างการใช้ทรัพยากรหรือค่ารักษาพยาบาลต่อผลผลิต หรือ ค่าค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับแล้วของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมที่เกิดขึ้น ประเมินประสิทธิภาพโดยเปรียบเทียบ และความเป็นธรรมตามแนวราบหรือแนวดิ่งในระดับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับแล้วของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมน้อยๆ ได้ดี กว่าระดับที่ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับแล้วของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมสูงกว่า และสามารถประยุกต์แนวคิดของการเปรียบเทียบความแตกต่างหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ เพื่ออธิบายประสิทธิภาพและความเป็นธรรมจากการใช้ทรัพยากรในโรงพยาบาลได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11699
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
128790.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons