กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11702
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์การศึกษาสาขาเกษตรในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting demand for studying Agriculture in Agriculture and Technology College of Vocational Education Commission Office |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุภาสินี ตันติศรีสุข นภา พวงมาลัย, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา รัชฎาพร เลิศโภคานนท์ |
คำสำคัญ: | วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี--การศึกษาและการสอน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะทั่วไปของนักศึกษาที่เลือกศึกษาสาขาเกษตรในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (2) ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ของนักศึกษาที่ศึกษาสาขาเกษตรในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกศึกษาสาขาเกษตรของนักศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผลการศึกษาพบว่า (1) ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ61.36 ผู้ศึกษาในหลักสูตร ปวช. มีค่าใช้จ่ายในการเรียนต่อภาคเรียนน้อยกว่า 500 บาท ส่วนหลักสูตร ปวส. มีค่าใช้จ่ายในการเรียนอยู่ระหว่าง 501-1,000 บาท อาชีพของผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวน้อยกว่า 5,000 บาท ระยะทางจากภูมิลำเนาถึงสถานศึกษาอยู่ระหว่าง 10-50 กิโลเมตร เวลาที่ใช้เดินทางจากที่พักถึงสถานศึกษา 30 นาที - 1 ชั่วโมง (2) ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ของนักศึกษาที่ศึกษาสาขาเกษตรในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี คือ เพศ ค่าใช้จ่ายในการเรียนต่อภาคเรียน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว โดยเพศมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับอุปสงค์ ค่าใช้จ่ายในการเรียนต่อภาคเรียนมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับอุปสงค์ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ณ ระดับนัยสำคัญ .05 ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับอุปสงค์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ณ ระดับนัยสำคัญ .05 (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกศึกษาสาขาเกษตร ได้แก่ ปัจจัยด้านวัฒนธรรม รองลงมาคือ ปัจจัยด้านจิตวิทยา ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านสังคม ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 4.1086 3.7719 3.7281 และ 3.4200 ตามลำดับ โดยทุกปัจจัยมีความสำคัญในระดับมาก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11702 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
130204.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.33 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License