Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11703
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุชาดา ตั้งทางธรรม | th_TH |
dc.contributor.author | ชัยณรงค์ ศรีรักษ์, 2518- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-03-11T02:14:12Z | - |
dc.date.available | 2024-03-11T02:14:12Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11703 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 | th_TH |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความยึดหยุ่นของอุปสงค์ของบุหรี่มวนเอง และ 2) ประเมินมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจของการสูบบุหรี่มวนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด โดยการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์มะเร็งอุดรธานีในช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2552 จำนวน 176 ราย ประมาณค่าโดยแบบจำลองการถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ส่วนการประเมินมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากพฤติกรรมการสูบบุหรี่มวนเองศึกษาโดยการใช้แบบจำลองการประเมินมูลค่าการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากพฤติกรรมสุขภาพด้วยแนววิธีทุนมนุษย์ ผลการศึกษาพบว่า ค่าความยึดหยุ่นไขว้ของอุปสงค์ของบุหรี่ซิกาแรตและบุหรี่มวนเองมีค่าเท่ากับ 0.22 ความยึดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคามีค่าเท่ากับ -0.57 และความยึดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้เท่ากับ -0.045 ส่วนความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการสูบบุหรี่มวนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด พบว่ามีมูลค่ารวมเท่ากับ1,769,436,097.20 ล้านบาทต่อปี หรือเฉลี่ยเท่ากับ 10,053,614.19 บาทต่อคนต่อปี โดยต้นทุนจากการสูญเสียผลิตภาพจากการขาดงานและการขาดประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9,934,008.55 บาทต่อคนต่อปี ต้นทุนจากการสูญเสียผลิตภาพจากการเสียชีวิตก่อนถึงวัยอันควรมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 22,420.61 บาทต่อคนต่อปี ต้นทุนค่ารักษาพยาบาลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 97,104.72 บาทต่อคนต่อปี โดยเป็นต้นทุนค่ารักษาพยาบาลของแผนกผู้ป่วยใน 57,231.60 บาทต่อคนต่อปี และต้นทุนค่ารักษาพยาบาลของแผนกผู้ป่วยนอก 39,873.13 บาทต่อคนต่อปี ส่วนต้นทุนค่าใช้จ่ายในการมวนบุหรี่สูบเองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 80.30 บาทต่อคนต่อปี จากผลการศึกษาพบว่าเมื่อราคาบุหรี่ซิกาแรตเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคบุหรี่มวนเองเพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่อเพิ่มรายได้และควบคุมการบริโภคบุหรี่ในขณะเดียวกันรัฐบาลควรดำเนินการจัดเก็บภาษียาเส้นมวนเองควบคู่กับบุหรี่ซิกาแรตตลอดจนปราบปรามขบวนค้าบุหรี่เถื่อนอย่างจริงจัง ในส่วนความสูญเสียทางเศรษฐกิจของผู้สูบบุหรี่มวนเองนั้น พบว่าต้นทุนมูลค่าความสูญเสียจากการสูญเสียผลิตภาพคิดเป็นร้อยละ98.80 ของมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งหมด และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.82 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ภายในจังหวัด (GPP) ส่วนต้นทุนค่ารักษาพยาบาลซึ่งสะท้อนต้นทุนที่สังคมร่วมแบกรับภาระค่าใช้จ่ายคิดเป็น 35.59 เท่าของรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตบุหรี่ในเขตพื้นที่ศึกษา | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.relation.uri | https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2011.18 | - |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | ความยืดหยุ่น (เศรษฐศาสตร์) | th_TH |
dc.subject | บุหรี่--แง่เศรษฐกิจ--ไทย | th_TH |
dc.title | การวิเคราะห์ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และการประเมินมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจของการสูบบุหรี่มวนเอง : กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์มะเร็งอุดรธานี | th_TH |
dc.title.alternative | An analysis of the elasticity of demand and evaluation of economic loss from hand-rolled cigarette smoking : the case study of Lung Cancer Patients at Udonthani Regional Cancer Center | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/STOU.the.2011.18 | - |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study aims to 1) analyze the elasticity of demand of hand-rolled cigarettes and 2) evaluate the magnitude of economic loss from hand-rolled cigarette smoking among lung cancer patients. The data was collected from the 176 diagnosed lung cancer patients who received medical treatment at Udonthani Regional Cancer Center from 2007 to 2009 and was analyzed using Ordinary Least Square method. Human Capital Approach was applied to estimate the magnitude of economic loss from hand-rolled smoking behaviors. It was found that 1) the cross elasticity of demand of manufactured cigarettes and hand-rolled cigarettes was 0.22. The price elasticity of demand was -0.57 and the income elasticity of demand was -0.045. 2) The total economic loss from hand-rolled smoking among the lung cancer patients was 1,769,436,097.20 million baht per year or, in average, 10,053,614.19 per person per year. The cost of lost productivity due to work absence and loss of efficiency accounted for 9,934,008.55 baht per person per year and the cost of lost productivity because of premature death was 22,420.61 baht per person per year. The average medical treatment cost was 97,104.72 baht per person per year. The medical treatment cost to in-patient care unit was 57,231.60 baht per person per year and the medical treatment cost to out-patient care unit was 39,873.13 baht per person per year. The average cost to hand-rolled cigarette smokers was 80.30 baht per person per year. The research indicated that once the price of manufactured cigarettes goes up, consumers will turn to hand-rolled cigarettes. Thus, to increase revenues and regulate smoking, the government should tax hand-rolled tobacco along with manufactured cigarettes and also crack down on tobacco black market. Regarding the magnitude of economic loss to hand-rolled smokers. It was found that the cost of economic loss due to the loss of productivity accounted for 98.80 percent of all economic loss and for 3.82 percent of GPP. The medical treatment cost which reflected the cost that the society must pay was 35.59 times higher than the cigarette tax revenues gained by the Excise Department in the area studied | en_US |
dc.contributor.coadvisor | สำรวย กมลายุตต์ | th_TH |
Appears in Collections: | Econ-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
130235.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License