Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11703
Title: | การวิเคราะห์ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และการประเมินมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจของการสูบบุหรี่มวนเอง : กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์มะเร็งอุดรธานี |
Other Titles: | An analysis of the elasticity of demand and evaluation of economic loss from hand-rolled cigarette smoking : the case study of Lung Cancer Patients at Udonthani Regional Cancer Center |
Authors: | สุชาดา ตั้งทางธรรม ชัยณรงค์ ศรีรักษ์, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สำรวย กมลายุตต์ |
Keywords: | ความยืดหยุ่น (เศรษฐศาสตร์) บุหรี่--แง่เศรษฐกิจ--ไทย |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความยึดหยุ่นของอุปสงค์ของบุหรี่มวนเอง และ 2) ประเมินมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจของการสูบบุหรี่มวนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด โดยการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์มะเร็งอุดรธานีในช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2552 จำนวน 176 ราย ประมาณค่าโดยแบบจำลองการถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ส่วนการประเมินมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากพฤติกรรมการสูบบุหรี่มวนเองศึกษาโดยการใช้แบบจำลองการประเมินมูลค่าการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากพฤติกรรมสุขภาพด้วยแนววิธีทุนมนุษย์ ผลการศึกษาพบว่า ค่าความยึดหยุ่นไขว้ของอุปสงค์ของบุหรี่ซิกาแรตและบุหรี่มวนเองมีค่าเท่ากับ 0.22 ความยึดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคามีค่าเท่ากับ -0.57 และความยึดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้เท่ากับ -0.045 ส่วนความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการสูบบุหรี่มวนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด พบว่ามีมูลค่ารวมเท่ากับ1,769,436,097.20 ล้านบาทต่อปี หรือเฉลี่ยเท่ากับ 10,053,614.19 บาทต่อคนต่อปี โดยต้นทุนจากการสูญเสียผลิตภาพจากการขาดงานและการขาดประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9,934,008.55 บาทต่อคนต่อปี ต้นทุนจากการสูญเสียผลิตภาพจากการเสียชีวิตก่อนถึงวัยอันควรมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 22,420.61 บาทต่อคนต่อปี ต้นทุนค่ารักษาพยาบาลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 97,104.72 บาทต่อคนต่อปี โดยเป็นต้นทุนค่ารักษาพยาบาลของแผนกผู้ป่วยใน 57,231.60 บาทต่อคนต่อปี และต้นทุนค่ารักษาพยาบาลของแผนกผู้ป่วยนอก 39,873.13 บาทต่อคนต่อปี ส่วนต้นทุนค่าใช้จ่ายในการมวนบุหรี่สูบเองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 80.30 บาทต่อคนต่อปี จากผลการศึกษาพบว่าเมื่อราคาบุหรี่ซิกาแรตเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคบุหรี่มวนเองเพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่อเพิ่มรายได้และควบคุมการบริโภคบุหรี่ในขณะเดียวกันรัฐบาลควรดำเนินการจัดเก็บภาษียาเส้นมวนเองควบคู่กับบุหรี่ซิกาแรตตลอดจนปราบปรามขบวนค้าบุหรี่เถื่อนอย่างจริงจัง ในส่วนความสูญเสียทางเศรษฐกิจของผู้สูบบุหรี่มวนเองนั้น พบว่าต้นทุนมูลค่าความสูญเสียจากการสูญเสียผลิตภาพคิดเป็นร้อยละ98.80 ของมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งหมด และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.82 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ภายในจังหวัด (GPP) ส่วนต้นทุนค่ารักษาพยาบาลซึ่งสะท้อนต้นทุนที่สังคมร่วมแบกรับภาระค่าใช้จ่ายคิดเป็น 35.59 เท่าของรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตบุหรี่ในเขตพื้นที่ศึกษา |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11703 |
Appears in Collections: | Econ-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
130235.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License