Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11704
Title: การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนบ้านคลองฝรั่ง อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
Other Titles: Community economic development under sufficiency economy philosophy : a case study of Klong Farang Community, Sainoi District, Nonthaburi Province
Authors: ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
มนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิฬาภรณ์ พยัคฆาภรณ์, 2498-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: เศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาชุมชน--แง่เศรษฐกิจ
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของชุมชนบ้านคลองฝรั่ง 2) วิเคราะห์การดำเนินชีวิตของครัวเรือนที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) วิเคราะห์การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพทั่วไปของชุมชนบ้านคลองฝรั่งส่วนใหญ่ทำการเกษตร ได้แก่ ทำนา มีรายได้จากการขายผลผลิตเฉลี่ย 5,000 - 10,000 บาท/ครัวเรือน/เดือน การใช้จ่ายส่วนใหญ่ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค มีการกู้เงินจาก ธกส. และกองทุนหมู่บ้าน ออมเงินกับสถาบันการเงินชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีผลผลิตเพียงพอต่อการบริโภคและแบ่งปันให้เพื่อนบ้าน ส่วนเกินนำไปจำหน่าย 2) การดำเนินชีวิตของครัวเรือนที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก ทั้งด้านความพอประมาณ ได้แก่ มีอาหารบริโภคครบ 3 มื้อในทุกวัน (x =4.88) มีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยแข็งแรงทนทาน (x=4.67) ด้านความมีเหตุผล ได้แก่ รู้จักประหยัดแต่ไม่ตระหนี่ (x-4.35) ใช้จ่ายตามฐานะไม่ใช้จ่ายเกินตัว (x=4.27) ด้านภูมิคุ้มกัน ได้แก่ สมาชิกในครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (X =4.78) ปลูกฝังให้สมาชิกในครอบครัวรู้จักประหยัด (X=4.57) ส่วนเงื่อนไขความรู้ ได้แก่ การพัฒนาความรู้เพื่อต่อยอดกิจการงานของครอบครัว (x =4.23) และเงื่อนไขคุณธรรม ได้แก่ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (X-435) และหลีกเลี่ยงอบายมุข (X =4.28) ตามลำดับ 3)การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนอยู่ในระดับมาก ด้านความพอประมาณ ได้แก่ การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่า (x =4.62) แปรรูปอุตสาหกรรมชุมชน (x =4.51) ความมีเหตุผล ได้แก่ วางแผนการใช้จ่าย (x=4.78) การมีภูมิคุ้มกัน ได้แก่ จัดทำบัญชีครัวเรือน (X =4.87) วิเคราะห์ข้อมูลรายรับ รายจ่ายของครอบครัว (x=4.28) เงื่อนไขความรู้ ได้แก่เพิ่มพูนความรู้และขีดความสามารถของคนในชุมชน (x=4.55) มีส่วนร่วมในการพัฒนาอาชีพของคนในชุมชน (x =4.32) และเงื่อนไขคุณธรรม ได้แก่ ช่วยเหลือเกื้อกูลแบ่งปันในชุมชน ( =4.31) และ ลด ละ เลิกอบายมุข (x =4.30) ตามลำดับ ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระหว่าง เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษาและรายได้กับการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในด้านความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน เงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม พบว่า อย่างไรก็ตามอายุมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านความพอประมาณ
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11704
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
130266.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.12 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons