Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11724
Title: | การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตเทศบาลตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี |
Other Titles: | People participation development in narcotic solving problem in Huaykapi Municipality, Muang District, Chonburi Province |
Authors: | นพดล อุดมวิศวกุล ปิยะวดี ปิยะเสถียร, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การควบคุมยาเสพติด--ไทย--ชลบุรี--การมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตเทศบาลตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี (2) วิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสําเร็จของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในเขตเทศบาลตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี (3) เสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตเทศบาลตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณประชากร คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลห้วยกะปิ อายุตั้งแต่ 20- 60 ปี มีจำนวน 9,523 คน โดยใช้สูตรทาโร่ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 383 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟ การวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ ผู้นำชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องจํานวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดยังไม่เพียงพอและทั่วถึง ประชากรแฝงไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ได้แก่ ปัจจัยด้านการมีอำนาจในการตัดสินใจของประชาชน ด้านความร่วมมือในกระบวนการของการตัดสินใจร่วมกัน ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมในการรับฟังความคิดเห็นและด้านการมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข่าวสาร (3) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นและมีอำนาจในการตัดสินใจอย่างแท้จริง โดยมีเทศบาลเป็นหน่วยงานสำคัญในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11724 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 30.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License