Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11730
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนพดล อุดมวิศวกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวิภาคย์ มุกนพรัตน์, 2526--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2024-03-14T05:36:11Z-
dc.date.available2024-03-14T05:36:11Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11730-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของการนำนโยบายการพัฒนาการอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากรของกรมศุลกากรไปปฏิบัติ (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการนำนโยบายการพัฒนาการอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากรของกรมศุลกากรไปปฏิบัติ และ (3) เสนอแนวทางการปรับปรุงการนํานโยบายการพัฒนาการอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากรของกรมศุลกากรไปปฏิบัติ การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสมวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ข้าราชการของหน่วยงานภายในกรมศุลกากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากร จํานวน 2,335 คน ใช้วิธีการคำนวณ กลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโรยามาเน่ได้จำนวน 341 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ เจ้าหน้าที่ประจำส่วนอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากร และผู้บริหารในกองพิกัดอัตราศุลกากร โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จํานวน 7 คน เนื่องจากเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นที่ศึกษาเครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์หน่วยงานอื่นๆ ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปประเด็นสำคัญตามกรอบแนวคิดที่วางไว้ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาที่สำคัญของการนํานโยบายการพัฒนาการอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากรของกรมศุลกากรไปปฏิบัติ ได้แก่ ทรัพยากรของนโยบาย การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลสําเร็จและแรงจูงใจในการมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพของเจ้าหน้าที่ (2) ปัจจัยด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และปัจจัยด้านแรงจูงใจของเจ้าหน้าที่รัฐ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความสำเร็จในการนำนโยบายการพัฒนาการอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากรของกรมศุลกากรไปปฏิบัติ และ (3) แนวทางการปรับปรุง ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มบุคลากรให้เหมาะสมกับปริมาณงาน ผู้บริหารควรกำหนดหน้าที่ และเป้าหมายด้านระยะเวลาที่ชัดเจนให้แก่หน่วยงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลเพื่อนำมาวัดผลสำเร็จของนโยบายและฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลควรเพิ่มโอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงานแก่เจ้าหน้าที่ในกระบวนการอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากรมากกว่าth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectพิกัดอัตราศุลกากรth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจth_TH
dc.titleการนำนโยบายการพัฒนาการอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากรของกรมศุลกากรไปปฏิบัติth_TH
dc.title.alternativeImplementation of the policy on the development of customs tariff appeal of the Customs departmenten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were (1) to examine problems; (2) to analyze relevant factor in success; and (3) to suggest improvement methods; in implementing the policy on the development of customs tariff appeal of the Customs department. Research approaches adopted in this study were mixed methods. In the quantitative research, the population was 2,335 officers of the Customs department who have responsibility involving the customs tariff appeal. A sample of 341 officers was calculated by using Taro Yamane Formula and chosen by means of stratified random sampling. The research tool was a questionnaire. Data analysis was carried out by using statistical tools including frequency, percentage, mean, standard deviation, z-test, and Pearson product-moment correlation coefficient. In the qualitative research, the population consisted of staff in the section of the customs tariff appeal and 7 executives of the customs tariff division chosen by purposive sampling as they were directly related to the subject studied. A structured interview was used as the research instrument. Content analysis was employed to summarize the main points in accordance with the conceptual framework for the research study. The results of the study revealed that (1) the major problems for implementing the development policy of the customs tariff appeal of the customs department consisted of a lack of resources for pursuing the policy, and a lack of active participation by masses in evaluating achievement, and a lack of motivation among the officers in getting an opportunity for career advancement; (2) the factor in following the policy, the factor being involved in the public participation, and the factor contributing to the officers' motivation, corresponded with the success in implementing the policy on the development of customs tariff appeal of the customs department; and (3) the approaches to the improvement included increasing the number of staff members of the relevant divisions to make it suitable for workload, The executives should delegate responsibilities to the support units concerned as well as set an explicit target time, encouraging the public participation in the evaluation of the success of the policy implementation, and offering more career advancement opportunities to the officers who are in charge of the customs tariff appealen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons