กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11730
ชื่อเรื่อง: การนำนโยบายการพัฒนาการอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากรของกรมศุลกากรไปปฏิบัติ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Implementation of the policy on the development of customs tariff appeal of the Customs department
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นพดล อุดมวิศวกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิภาคย์ มุกนพรัตน์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
พิกัดอัตราศุลกากร
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของการนำนโยบายการพัฒนาการอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากรของกรมศุลกากรไปปฏิบัติ (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการนำนโยบายการพัฒนาการอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากรของกรมศุลกากรไปปฏิบัติ และ (3) เสนอแนวทางการปรับปรุงการนํานโยบายการพัฒนาการอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากรของกรมศุลกากรไปปฏิบัติ การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสมวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ข้าราชการของหน่วยงานภายในกรมศุลกากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากร จํานวน 2,335 คน ใช้วิธีการคำนวณ กลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโรยามาเน่ได้จำนวน 341 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ เจ้าหน้าที่ประจำส่วนอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากร และผู้บริหารในกองพิกัดอัตราศุลกากร โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จํานวน 7 คน เนื่องจากเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นที่ศึกษาเครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์หน่วยงานอื่นๆ ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปประเด็นสำคัญตามกรอบแนวคิดที่วางไว้ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาที่สำคัญของการนํานโยบายการพัฒนาการอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากรของกรมศุลกากรไปปฏิบัติ ได้แก่ ทรัพยากรของนโยบาย การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลสําเร็จและแรงจูงใจในการมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพของเจ้าหน้าที่ (2) ปัจจัยด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และปัจจัยด้านแรงจูงใจของเจ้าหน้าที่รัฐ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความสำเร็จในการนำนโยบายการพัฒนาการอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากรของกรมศุลกากรไปปฏิบัติ และ (3) แนวทางการปรับปรุง ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มบุคลากรให้เหมาะสมกับปริมาณงาน ผู้บริหารควรกำหนดหน้าที่ และเป้าหมายด้านระยะเวลาที่ชัดเจนให้แก่หน่วยงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลเพื่อนำมาวัดผลสำเร็จของนโยบายและฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลควรเพิ่มโอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงานแก่เจ้าหน้าที่ในกระบวนการอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากรมากกว่า
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11730
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons