กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11731
ชื่อเรื่อง: บทบาทนายอำเภอในกระบวนการงบประมาณของจังหวัด : กรณีศึกษา อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Roles of Chief District Officer in provincial budget process : a case study of Nam Nao District, Phetchabun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ราม สิงหโศภิษฐ์, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
งบประมาณจังหวัด--ไทย--เพชรบูรณ์
นายอำเภอ--ไทย--เพชรบูรณ์
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทของนายอำเภอน้ำหนาวที่มีต่อกระบวนการงบประมาณของจังหวัดเพชรบูรณ์ (2) ปัญหาและสาเหตุ ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาในการเข้าไปมีบทบาทของนายอำเภอน้ำหนาวในกระบวนการงบประมาณของจังหวัดเพชรบูรณ์ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีรูปแบบเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวิธีการศึกษา 2 ประการ ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และ 2) การศึกษาภาคสนาม โดยแบ่งย่อยเป็น 2 แนวทาง ประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ประชากรในงานวิจัยชิ้นนี้ คือ พื้นที่อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งได้รับการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เนื่องจากเป็นผู้เกี่ยวข้องที่สามารถให้คำตอบต่อปัญหาการวิจัยได้โดยตรง รวมจํานวนทั้งสิ้น 15 คน สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ (1) บทบาทของนายอำเภอน้ำหนาวในกระบวนการงบประมาณของจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ 1) ด้านการวางแผนงบประมาณ นายอำเภอมีบทบาทในการทบทวนผลการดำเนินงานและการจัดทําแผนพัฒนาอำเภอและแผนพัฒนาจังหวัด 2) ด้านการจัดทํางบประมาณ นายอำเภอมีบทบาทในการเสนอแผนความต้องการของอำเภอต่อจังหวัด 3) ด้านการอนุมัติงบประมาณ นายอำเภอยังได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดในการชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีทั้งในชั้นสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา 4) ด้านการบริหารงบประมาณ นายอำเภอต้องจัดทําแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณส่งให้จังหวัด รวบรวมเพื่อเสนอไปยังสํานักงบประมาณดำเนินโครงการในพื้นที่และเบิกจ่ายงบประมาณ 5) ด้านการติดตามประเมินผลงบประมาณ นายอำเภอจะต้องรายงานข้อมูลความก้าวหน้าของการดำเนินงานส่งให้จังหวัดเพื่อส่งไปยังสำนักงบประมาณและจัดเตรียมเอกสารเพื่อรอรับการตรวจจากหน่วยตรวจสอบภายในของจังหวัดและสํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน (2) ปัญหาในการเข้าไปมีบทบาทของนายอำเภอน้ำหนาวในกระบวนการงบประมาณของจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ 1) ปัญหาแผนพัฒนาอำเภอ ไม่ได้รับการยอมรับ 2) ปัญหาสัดส่วนวงเงินงบประมาณของจังหวัดเมื่อเทียบกับภาพรวมต่ำ 3) ปัญหาข้อเสนอแผนงานโครงการของอำเภอไม่ได้รับการตอบสนองจากจังหวัด 4) ปัญหาความยุ่งยากในการจัดทําเอกสารงบประมาณ 5) ปัญหาการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการไม่มีมาตรฐาน 6) ปัญหาการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง 7) ปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า 8) ปัญหาการขาดผู้มารับช่วงต่อในโครงการที่ต้องมีการดูแลบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง 9) ปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ 10) ปัญหาการติดตามประเมินผลงบประมาณมีประสิทธิภาพจำกัด ทั้งนี้ โดยมีการวิเคราะห์สาเหตุและสังเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีหลักการทางรัฐประศาสนศาสตร์และข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11731
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons