Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11733
Title: | ทุนทางสังคมกับการแก้ปัญหาด้านความมั่นคงบริเวณชายแดน : กรณีศึกษา 3 หมู่บ้านชายแดน ตำบลสะตอน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี |
Other Titles: | Social capital for border security problem-solving : a case study of 3 border villages between Thailand and Cambodia. Saton Sub-district, Soi Dao District, Chanthaburi Province |
Authors: | พิศาล มุกดารัศมี กาลฎา สุนทร, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี ทุนทางสังคม ความมั่นคงชายแดน--ไทย--จันทบุรี การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาบทบาททุนทางสังคมในการส่งเสริมความมั่นคงของ 3 หมู่บ้านชายแดนไทย-กัมพูชา (2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา ของทุนทางสังคมในการส่งเสริมความมั่นคงของ 3 หมู่บ้านชายแดนไทย-กัมพูชา การศึกษา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยแบบเจาะจง ประชากรวิจัย 6 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มทหาร (2) กลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน (3) กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน (4) กลุ่มประชากรในพื้นที่ (5) ครูในพื้นที่ และ (6) กลุ่มผู้นำทางศาสนา โดยใช้เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบการพูดคุย การบันทึกเสียงร่วมกับการจดบันทึกข้อมูล เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ทุนทางสังคมของทั้ง 3 หมู่บ้านชายแดนไทย-กัมพูชา ได้แก่ความไว้วางใจ การเกื้อกูลกัน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้นำทางปัญญา เป็นโครงสร้างความสัมพันธ์แนวราบ และกลุ่มองค์กรเครือข่าย มีบทบาทต่อการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงในชุมชน โดยช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีทั้งระหว่างคนในชุมชนด้วยกัน และระหว่างคนในชุมชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลให้คนในชุมชนเกิดความไว้วางใจ ช่วยเหลือกัน มีความรักความสามัคคีต่อกัน ร่วมกันทํากิจกรรมของส่วนรวมให้สําเร็จอย่างพร้องเพรียง และมีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำชุมชน รวมทั้งบุคลากรของหน่วยงานที่เข้ามามีบทบาทในการช่วยแก้ไขปัญหา ส่วนปัญหาอุปสรรค และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชุมชน ทําให้ชุมชนเกิดความมั่นคง และสามารถพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งได้ต่อไป อย่างไรก็ตาม หากจะทำให้ชุมชนมีความมั่นคงอย่างยั่งยืนนั้น การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในชุมชน และความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้คงไว้อย่างเหนียวแน่นได้ ท่ามกลางสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกันจากคนในชุมชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นเมื่อมีนโยบายหรือแนวทางที่ส่งเสริมความมั่นคงในชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องสามารถให้ข้อมูลที่ครบถ้วน และทั่วถึงแก่คนในชุมชน รวมทั้งสามารถสร้างความเข้าใจ และความเชื่อมั่นในนโยบายหรือแนวทางที่นำเสนอต่อชุมชนได้เพราะหากคนในชุมชนเกิดความเชื่อมั่นในนโยบายหรือแนวทางที่นําเสนอก็จะให้ความร่วมมือในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความมั่นคงอย่างยั่งยืนได้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11733 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License