Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11741
Title: การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศรถยนต์ในประเทศไทย
Other Titles: An analysis of capability on competitiveness of automotive air conditioning industry in Thailand
Authors: สุภาสินี ตันติศรีสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ขวัญแก้ว เล่ห์สิงห์, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: ความสามารถในการแข่งขัน
เครื่องปรับอากาศ
อุตสาหกรรมรถยนต์
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศรถยนต์ในประเทศไทยกับประเทศคู่แข่งในตลาดโลกและในประเทศคู่ค้าสำคัญ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศรถยนต์ในประเทศไทย (3) ศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศรถยนต์ในประเทศไทย (4) ปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศรถยนต์ในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตลาดที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออกเครื่องปรับอากาศรถยนต์ เพราะค่า RCA >1 มี 5 ตลาด คือ ตลาดโลก ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ ญี่ปุ่น และอาร์เจนตินา กลุ่มตลาดที่ประเทศไทยไม่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออกเครื่องปรับอากาศรถยนต์เพราะค่า RCA < 1 มี 16 ตลาด คือ ตลาดสิงคโปร์ เบลเยียม ตุรกี สหพันธรัฐมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกงสาธารณรัฐเช็ค สหรัฐอเมริกา เยอรมนี เม็กซิโก สหราชอาณาจักร อิตาลี ฝรั่งเศส สาธารณรัฐประชาชนจีนเนเธอร์แลนด์ และสเปน (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกเครื่องปรับอากาศรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นในตลาดส่งออกที่สำคัญเป็นผลมาจากการแข่งขัน การส่งออกถูกทิศทาง การขยายตัวการส่งออกของโลก และการกระจายตลาด ตามลำดับ (3) อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศรถยนต์ของไทยมีศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกโดยมีปัจจัยสนับสนุนในด้านการวิจัยและพัฒนาสินค้า มีความได้เปรียบในด้านอุปสงค์และอุตสาหกรรมสนับสนุนและเกี่ยวเนื่อง รวมทั้งรัฐบาลมีนโยบายที่เข้มแข็งในการส่งออกเครื่องปรับอากาศและนโยบายสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ในภูมิภาค (4) ปัญหาที่สำคัญคือ ต้นทุนการผลิตสูงเนื่องจากมีการนำเข้าวัตถุดิบบางส่วนจากต่างประเทศและต้นทุนนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศมีราคาสูง ส่วนอุปสรรคที่สำคัญ คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ภาวะเศรษฐกิจ และกฎระเบียบของประเทศคู่ค้าที่ผู้ผลิตไม่สามารถปรับตัวได้ตามระเบียบนำเข้าที่กำหนด
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11741
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
135328.pdfเอกสารฉบับเต็ม43.32 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons