กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11748
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารของจังหวัดสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the operations of food processing and product development community enterprises in Saraburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
อนุวัฒน์ คงสว่าง, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พลสราญ สราญรมย์
คำสำคัญ: วิสาหกิจชุมชน
ผลิตภัณฑ์อาหาร
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม ของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารของจังหวัดสระบุรี (2) ระดับความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน (3) ระดับความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชน (4) ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชน (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารจังหวัดสระบุรี ผลการวิจัยพบว่า (1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร ร้อยละ 76.3 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 56.36 ปี ร้อยละ 38.4 มีระดับการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 71.8 ประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นอาชีพหลัก รายได้จากการประกอบอาชีพเฉลี่ย 102,471.8 บาท/ปี รายได้จากวิสาหกิจชุมขน 27,463.28 บาท/ปี มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.99 คน มีจำนวนแรงงานที่ร่วมวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 1.17 คน มีระยะเวลาการเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 6.20 ปี (2) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีความรู้ที่ได้รับจากการส่งเสริมเกี่ยวกับด้านการจัดการ ด้านการบริหาร และด้านการพัฒนาเครือข่าย อยู่ในระดับมาก โดยได้รับการส่งเสริมเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนแบบรายบุคคล โดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมโดยการเยี่ยมกลุ่มมากที่สุด ร้อยละ 27.7 สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีระดับความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง (3) ประเด็นความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารของจังหวัดสระบุรี เกี่ยวกับประเด็นด้านการจัดการ ด้านการบริหาร และด้านการสนับสนุนเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน พบว่าร้อยละ 46.3 สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีระดับความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับมาก (4) ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารจังหวัดสระบุรี ได้แก่ รายได้จากการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในความสัมพันธ์เชิงบวก และแรงงานที่ร่วมวิสาหกิจชุมชุนในความสัมพันธ์เชิงลบ ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.05 (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะ ร้อยละ 31.1 มีปัญหาการการวางแผนกำหนดทิศทางการพัฒนาและขาดเงินทุน ขอเสนอแนะว่าควรมีส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้เกิดรายได้ และวิธีการบริหารจัดการสมาชิกเพื่อพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11748
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons