Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11751
Title: | การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ บริเวณป่าห้วยส้อ กรณีศึกษาชุมชนบ้านส้อและบ้านเด่นพัฒนา ตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน |
Other Titles: | Development of people’s participation in forest resources conservation in HuaiSor forest: a case study of Ban Sor and Ban Denphatthana communities, Pue sub district, Chiang Klang District, Nan Province |
Authors: | ชัยวัฒน์ คงสม พัทธนันท์ พริบไหว, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุธิดา มณีอเนกคุณ |
Keywords: | ทรัพยากรป่าไม้--การอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้--การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะเศรษฐกิจและสังคมบางประการของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้บริเวณป่าห้วยส้อ 2) สภาพการจัดการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ 3) ระดับการมีส่วนร่วมและปัญหาอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชน และ 4) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้บริเวณป่าห้วยส้อ ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 55 ปีขึ้นไป เป็นหัวหน้าครัวเรือนเกินกว่าครึ่งหนึ่ง มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า นับถือศาสนาพุทธ อาชีพหลักเป็นเกษตรกรรายได้เฉลี่ย 3,000 - 6,000 บาทต่อเดือน เป็นสมาชิกกลุ่มรักษ์น้ำส้อ และไม่มีตำแหน่งทางสังคมในชุมชน 2) การจัดการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้บริเวณป่าห้วยส้อ มีองค์กรชุมชนร่วมกันจัดตั้งกลุ่มรักษ์น้ำส้อขึ้น เพื่อบริหารจัดการและร่วมกันจัดกิจกรรมด้านอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้อย่างต่อเนื่องโดยสมาชิกมีส่วนร่วมในกิจกรรมภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน 3) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ส่วนใหญ่อยู่ระดับมาก ปัญหาอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนส่วนใหญ่อยู่ระดับน้อย และ 4) ประชาชนเห็นด้วยกับแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้บริเวณป่าห้วยส้ออยู่ในระดับมาก เช่น ควรมีการสร้างจิตสำนึกในการหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ให้กับประชาชนโดยการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และควรมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้ราษฎรได้รับรู้เพิ่มมากขึ้นและทั่วถึงในสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.การจัดการทรัพยากรเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11751 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License