กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11752
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเงินเฟ้อของประเทศไทยภายหลังการดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting inflation in Thailand after monetary policy implementation under the inflation targeting framework
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิญญา วนเศรษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนีย์ ศีลพิพัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กิตติคม สุขคำมี, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: เงินเฟ้อ--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวของตัวแปรเศรษฐศาสตร์มหภาคที่เกี่ยวข้องกับเงินเฟ้อได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศราคาน้ำมันดิบ ปริมาณเงินในความหมายกว้าง และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และ 2) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเกิดเงินเฟ้อของประเทศไทยภายหลังการดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ผลการศึกษาพบว่า 1) ตัวแปรทางเศรษฐศาสตร์มหภาคทั้ง 5 ตัวแปรที่นำมาศึกษาได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ราคาน้ำมันดิบ ปริมาณเงินในความหมายกว้าง และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ 2) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเงินเฟ้อของประเทศไทยมากที่สุดคือ ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจปัจจัยรองลงมาได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และราคาน้ำมันดิบ ตามลำดับที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11752
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
138348.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons