กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11757
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A feasibility study of power plant using agricultural wastes derived from a maize crop cultivation
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
มนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยา ภูมิสามพราน, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: โรงไฟฟ้า
วัสดุเหลือใช้จากพืชเศรษฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ศักยภาพเชิงปริมาณและการกระจายเชิงภูมิศาสตร์ของชีวมวลที่เกิดขึ้นจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทย 2) ความเป็นไปได้ของด้านตลาด ด้านเทคนิคและด้านการเงินของโครงการผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือทิ้งของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นเชื้อเพลิงหลักสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลกำลังการผลิตไม่เกิน 10 เมกกะวัตต์ ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ 3) วิเคราะห์ความไวของโครงการผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือทิ้งของการการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ใน พ.ศ.2555 มีวัสดุเหลือทึ้งจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งประเทศ1,295,272 ตันซังข้าวโพด และ 4,532,708 ตันต้นและยอด คิดเทียบเท่ากับพลังงาน 1,837.8 พันตันน้ำมันดิบ โดยจากซัง 432.8 พันตันน้ำมันดิบ และต้นและยอด 1,405 พันตันน้ำมันดิบ ภาคเหนือมีปริมาณเชื้อเพลิงชีวมวลจากวัสดุเหลือทิ้งมากสุด เท่ากับ 817,041 ตันซังข้าวโพด และ 2,859,175 ตันต้นและยอด ซึ่งเทียบเท่าเป็นพลังงานรวมเท่ากับ 1,159.3 พันตันน้ำมันดิบ 2) โครงการมีความเป็นไปได้ด้านตลาดเนื่องจากภาครัฐส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนตามแผน PDP2010 โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้า ด้านเทคนิคมีความเป็นไปได้เนื่องจากในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีเชื้อเพลิงเพียงพอ และได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าชีวมวลในประเทศไทย และด้านการเงินโครงการมีความเป็นไปได้ มีความคุ้มค่า ในกรณีกู้เงินลงทุน ระยะเวลาคืนทุนโครงการ 6 ปี เดือน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 532,268,935.75 บาท BCR เท่ากับ 1.756 และIRR เท่ากับร้อยละ 49.18 มีค่ามากกว่าค่าเสียโอกาสของทุน (ร้อยละ7) ในกรณีไม่กู้เงินลงทุน ระยะเวลาคืนทุนโครงการ 4 ปี 5 เดือน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 524,021,543.41 บาท อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน เท่ากับ 1.536 756 และ อัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับร้อยละ 20.45 ซึ่งแสดงว่าโครงการนี้มีความคุ้มค่าในการลงทุน การที่ผลตอบแทนในกรณีกู้เงินมีค่าสูงกว่าเนื่องจากกิจการสามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้ไปลดหย่อนภาษีได้ 3) เมื่อวิเคราะห์ความไวของโครงการ ตัวแปรที่มีความไวสูงคือ ราคาเชื้อเพลิง มูลค่าการลงทุน ราคารับซื้อไฟฟ้า ส่วนตัวแปรความไวต่ำ คือ ดอกเบี้ยเงินกู้ และอัตราการขึ้นเงินเดือนพนักงาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11757
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140612.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons